รู้หรือไม่ ! โรคหลอดเลือดสมอง เป็นโรคที่ทำให้การเกิดเสียชีวิต และพิการ เป็นอันดับต้น ๆ ของประเทศไทย ซึ่งมีแนวโน้มผู้ป่วย ผู้พิการ และผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นทุกปี หลายรายเมื่อเกิดโรคนี้ต้องอาศัยความช่วยเหลือจากผู้อื่นไปตลอดชีวิต หากเราตระหนักรู้หรือสัญญาณเตือนของโรคได้เร็ว ทำการวินิจฉัย รักษาและฟื้นฟูให้กลับมาเป็นปกติโดยเร็วที่สุด จะช่วยลดการเสียชีวิตและความพิการได้
รู้จักโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลัน
โรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลัน (Stroke) คือ โรคที่มีอาการผิดทางระบบประสาทเฉียบพลันที่เกิดจากหลอดเลือดสมอง ถูกลิ่มเลือดหรือก้อนเลือดไปอุดตันหลอดเลือด ซึ่งอาจทำให้ขาดเลือด และออกซิเจนที่ไปเลี้ยงสมอง หรืออาจกดเนื้อสมอง ทำให้สมองทำงานผิดปกติ หรือทำให้เนื้อสมองตาย
ปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดสมอง
- ผู้ที่มีอายุ 55 ปีขึ้นไป
- ผู้ชายจะมีความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมองมากกว่าผู้หญิง แต่อัตราการเสียชีวิตของผู้หญิงนั้นจะสูงกว่า
- คนในครอบครัวมีประวัติเป็นโรคหลอดเลือดสมอง
- ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น ภาวะความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง เบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ
- สูบบุหรี่ หรือสูดดมควันบุหรี่มือสองอย่างต่อเนื่อง ดื่มสุราในปริมาณมาก หรือใช้สารเสพติด
- มีการใช้ยาคุมกำเนิด หรือฮอร์โมนบำบัดที่มีฮอร์โมนเอสโตรเจนเป็นส่วนประกอบจะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง
อาการโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลัน
- มีอาการอ่อนแรง หรือชาบริเวณหน้า แขน ขา โดยส่วยนใหญ่มักจะเกิดด้านใดด้านหนึ่งของร่างกาย ร่วมกับอาการปากเบี้ยว พูดไม่ชัดหรือ พูดไม่ได้
- ปากเบี้ยว พูดไม่ชัด พูดไม่ได้ หรือไม่สามารถเข้าใจคำพูดของคนอื่น
- ตามัวแบบเฉียบพลัน หรือเห็นภาพซ้อนจากตาข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้ง 2 ข้าง
- วิงเวียนศีรษะ หรือเดินเซ การทรงตัวผิดปกติ ซีมลง มึนศีรษะ หมดสติ
เมื่อไหร่ควรพบแพทย์
หากพบว่ามีอาการดังกล่าวคล้ายกับโรคหลอดเลือดสมอง ควรปฎิบัติตามแนวทาง “FAST” ดังต่อไปนี้
F (Face) ใบหน้า |
ลองพยายามยิ้ม แล้วสังเกตว่ามีอาการปากเบี้ยวหรือไม่ |
A (Arm) แขน |
พยายามยกแขนทั้ง 2 ข้างขึ้นเหนือศีรษะแล้วสังเกตอาการ หากแขนข้างใดข้างหนึ่งตกไม่มีแรง หรือดูผิดปกติต่างจากแขนอีกข้างหนึ่งชัดเจน |
S (Speech) |
ลองถามคำถามง่าย ๆ ดูว่าผู้ป่วยมีอาการพูดไม่ชัดหรือไม่ |
T (Time) |
หากเกิดอาการเหล่านี้ ควรรีบไปพบแพทย์ทันทีภายใน 4 ชั่วโมง หรือโทรแจ้งสายด่วน 1669 หรือรถพยาบาล |
จุดสำคัญที่สุดของการรักษาโรคหลอดเลือดสมอง คือ รีบนำส่งผู้ป่วยถึงโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุด ยิ่งผู้ป่วยได้รับการรักษาเร็ว จะยิ่งมีโอกาสหายมาก ลดความเสี่ยงของภาวะสมองขาดเลือดและลดความรุนแรงของภาวะทุพพลภาพ (อัมพฤกษ์ อัมพาต) ได้มากยิ่งขึ้น ดังนั้นเพื่อป้องกันการเกิดโรคควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดความเสี่ยง ควบคุมระดับความดันโลหิต ไขมัน และระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ควบคุมน้ำหนัก ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และอย่าลืมตรวจสุขภาพประจำปี อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
ผู้เขียน
สิราวรรณ ล้วนสุธรรม
เภสัชกร
หากใครมีข้อสงสัยเกี่ยวกับเรื่อง ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ยา และปัญหาเรื่องสุขภาพ สามารถปรึกษาเภสัชกรออนไลน์ได้ที่ ปวด ป่วย อาย จาม "ถามMacy" เรายินดีให้คําปรึกษาทุกปัญหาสุขภาพ
- ปรึกษาง่าย ๆ ไม่ต้องโหลดแอป ได้ที่ https://telepharmacy.fascino.co.th/
- Facebook : https://m.me/fascinohealthcarethailand
- Line : https://lin.ee/3mHf2nZ
- โทร : 02-111-6999