เด็กส่วนใหญ่มักจะมีอาการซน เพราะอยู่ในวัยที่อยากรู้อยากเห็น ชอบลุกเดินไปมาเป็นตัวป่วนในห้องเรียน แต่พ่อแม่ก็มักจะไม่ได้เอะใจว่าแบบไหนคืออาการซนที่ผิดปกติ ซึ่งถ้าเด็กมีอาการซนมากกว่าปกติเมื่อเทียบกับวัยเดียวกัน ขาดสมาธิ มีอาการหุนหันพลันแล่น นี่เป็นสัญญานที่ไม่ควรมองข้ามเลยทีเดียว แล้วอาการแบบไหนบ้างที่จะสามารถสังเกตได้เบื้องต้นว่าลูกเป็นโรคสมาธิสั้น ไปดูเช็คลิสต์กันเลยค่ะ
เช็คลิสต์ 3 อาการของโรคสมาธิสั้น
- ขาดสมาธิ : มักจะมีอาการวอกแวกตามสิ่งเร้า, ขี้ลืม มักทำของหายบ่อย ๆ, ไม่ละเอียดรอบคอบ, ไม่สามารถจดจ่อกับอะไรนาน ๆ ได้, ทำงานไม่เสร็จหรือใช้เวลานานมากกว่าปกติ
- มีพฤติกรรมซน ชอบเล่นรุนแรง : ไม่ชอบอยู่นิ่ง, ต้องลุกเดินตลอดเวลา, ชอบเล่นกิจกรรมรุนแรง เช่น ปีนป่าย ผาดโผน หรือกิจกรรมที่ใช้พลังเยอะ พูดมาก
- ขาดความยับยั้งชั่งใจ : ใจร้อน ไม่สามารถทนรออะไรได้นาน ๆ เช่น ไม่สามารถรอแถวหรือเข้าคิวนาน ๆ ได้ ไม่ระมัดระวังคำพูด ชอบพูดแทรกโดยที่ไม่ฟังจนจบ
การปรับพฤติกรรมเพื่อรักษาโรคสมาธิสั้น
- การปรับพฤติกรรมการเลี้ยงดู : โดยพ่อแม่ต้องเป็นแบบอย่างพฤติกรรมที่ดีให้กับลูก เช่น มีความอดทนรอ มีวินัย สื่อสารกับเด็กให้สั้นกระชับ คอยกระตุ้นเมื่อเด็กมีอาการเหม่อหรือวอกแวก จำกัดเวลาเล่นแท็บเลตหรือโทรศัพท์
- การปรับพฤติกรรมในห้องเรียน : ใช้วิธีการสอนด้วยคำพูดที่กระชับ คำอธิบายสั้นๆหรือใช้ท่าประกอบ กระตุ้นให้ตอบคำถามเป็นระยะ ให้เด็กได้ทำกิจกรรมที่ชอบ แบ่งงานออกเป็นขั้นตอนเพื่อให้เด็กทำสำเร็จในระยะเวลาอันสั้นและมีกำลังใจที่จะทำงานต่อไปให้สำเร็จ
- การปรับพฤติกรรมจากสังคมรอบข้าง : เพื่อน ๆ ก็มีส่วนช่วยเหลือได้ โดยการไม่ล้อเลียนหรือต่อว่าเพื่อน ไม่ทำให้เพื่อนรู้สึกแตกแยก คอยช่วยเหลือเวลาทำการบ้าน เตือนเวลาที่ต้องส่งงาน หรือเวลาที่เพื่อนวอกแวกไม่มีสมาธิในห้องเรียน
สิ่งที่สำคัญคือคนรอบข้างควรหมั่นสังเกตอาการของเด็กอย่างใกล้ชิด หากอาการของเด็กรุนแรงจนถึงขั้นกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน การเรียน การเข้าสังคม ก็อาจจำเป็นต้องใช้การรักษาด้วยยาควบคู่ไปด้วย ผู้ปกครองควรรีบพาเด็กไปพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยและการรักษาที่ถูกต้อง เพราะถ้าเด็กได้รับการรักษาตั้งแต่อายุยังน้อย ก็มีโอกาสที่จะหายเพิ่มขึ้นได้เพื่อให้เด็กมีคุณภาพชีวิตและจิตใจที่ดีขึ้น และสามารถใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่นได้อย่างปกติ
ผู้เขียน
ธมนวรรณ พรพาณิชเจริญ
เภสัชกร
หากใครมีข้อสงสัยเกี่ยวกับเรื่อง ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ยา และปัญหาเรื่องสุขภาพ สามารถปรึกษาเภสัชกรออนไลน์ได้ที่ ปวด ป่วย อาย จาม "ถามMacy" เรายินดีให้คําปรึกษาทุกปัญหาสุขภาพ
- ปรึกษาง่าย ๆ ไม่ต้องโหลดแอป ได้ที่ https://telepharmacy.fascino.co.th/
- Facebook : https://m.me/fascinohealthcarethailand
- Line : https://lin.ee/3mHf2nZ
- โทร : 02-111-6999
อ่านอะไรต่อดี ?
5 โรคระบาดในเด็ก อันตรายที่พ่อแม่ควรใส่ใจ