โรค ASF ติดจากหมูสู่คนได้หรือไม่ อันตรายต่อร่างกายแค่ไหน

Tags:
โรค ASF ติดจากหมูสู่คนได้หรือไม่ อันตรายต่อร่างกายแค่ไหน

โรค African Swine Fever (ASF) หรือ โรคอหิวาต์แอฟริกาในหมู เป็นโรคที่ถูกนำมาพูดถึงกันมาก หลังมีรายงานพบการระบาดในไทยหลายปีและหมูล้มตายจำนวนมาก ผู้เลี้ยงหมูรายย่อยลดจำนวนลงเพราะแบกรับความเสี่ยงไม่ไหว ส่งผลให้เนื้อหมูขาดตลาด ราคาหมูแพงขึ้น แล้วยังส่งผลให้สินค้าอื่นแพงขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ช่วงปลายปี 2564 ยาวข้ามปี และกลายเป็นประเด็นใหญ่ต้อนรับปี 2565 จากปัญหาลูกโซ่ที่สืบเนื่อง

แต่หนึ่งในคำถาม คือ จะติดสู่คนได้ไหม ทำไมถึงมีการสั่งห้ามเนื้อหมูที่ปนเปื้อนเข้าประเทศ แล้วเนื้อหมูในไทยจะมี ASF หรือเปล่า ลองมาทำความเข้าใจกัน

 

ทำไมโรค ASF ถึงกังวลกันมาก

ปัญหาใหญ่ของ ASF คือ แพร่ได้ง่ายมาก ยังไม่มีวิธีรักษา เชื้ออยู่ในสภาพแวดล้อมได้นานหลายปี แม้จะทำอาหารแปรรูปก็ยังถือว่ามีความเสี่ยง ทำให้หลายประเทศห้ามนำเข้าเนื้อหมูที่ปนเปื้อนเชื้อโรคชนิดนี้

อาการของหมูที่ติดเชื้อ จะไข้สูง​ จุดเลือดออก​ อาเจียน​ ถ่ายเป็นเลือด​ และตายเกือบ 100%

เมื่อหมูติดเชื้อ ASF เพียงตัวเดียว จะทำให้เกิดอาการผิดปกติหลายอย่างภายใน 3-4 วัน จนหมูเสียชีวิตในเวลาสั้นๆ กระจายไปทั่ว ทำให้หมูทั้งฟาร์มมีโอกาสตายเกือบทั้งหมด ในเวลาสั้นๆ โดยไม่มีวิธีรักษา

ที่สำคัญช่วงต้นปี 2565 ยังคงไม่สามารถสร้างวัคซีนเพื่อต่อต้านไวรัสได้ จึงมีความเข้มงวดในการป้องกันโรคอหิวาต์แอฟริกาในหมู เป็นหนทางเดียวที่จะพอรับมือการแพร่ระบาดได้ ทำให้การแพร่ระบาด ASF เป็นเรื่องใหญ่ในหลายประเทศ

 

ภาพจาก: PPTVHD36

 

ASF ติดคนไหม

โรคอหิวาต์แอฟริกาในหมู จะเป็นอันตรายโดยตรงต่อหมูเท่านั้น ไม่มีอันตรายต่อคนกินเนื้อหมู

ดังนั้น ถึงรับเชื้อจากเนื้อหมูที่ปรุงไม่สุกเข้ามาในร่างกาย ก็ไม่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ และไม่ส่งผลต่อโรคไข้หวัดอื่น รวมถึงโควิด-19

ส่วนสาเหตุที่มีการห้ามนำเข้าเนื้อหมูต่างประเทศที่ตรวจพบการปนเปื้อนเชื้อ ASF เพราะกังวลว่าจะเชื้อในเนื้อหมูจะถูกพาหะแพร่ไปสู่หมูในประเทศได้ จนยากต่อการควบคุม เมื่อตรวจพบเนื้อหมูต่างประเทศที่มีเชื้อ ASF อยู่จะถูกระงับการนำเข้าได้

 

โรค ASF ในหมู ติดคนไหม อันตรายกับคนหรือเปล่า | Telepharmacy ใน 1 นาที

 

ภาพประกอบ: Pixabay

 

บทความแนะนำ

เปรียบเทียบอาการโควิด โอมิครอน และ เดลต้า เหมือนตรงไหน ต่างอย่างไร

โรคฉี่หนู อาการ แนวทางการรักษา ต้องระวังอะไรบ้าง

แนวทางเลือกอาหารทางการแพทย์ สำหรับผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรัง

บทความการดูแลสุขภาพ