สารให้ความหวานแทนน้ำตาล ปลอดภัยจริงหรือไม่ ?

สารให้ความหวานแทนน้ำตาล ปลอดภัยจริงหรือไม่ ?

ถึงน้ำตาลจะช่วยให้ร่างกายสดชื่น ให้พลังงานในการทำกิจกรรมต่างๆ แต่หากทานมากไปจะมีผลเสียต่อสุขภาพหลายประการ เสียงกับเบาหวาน หรือ ผิวแก่ก่อนวัยได้ ทำให้เทรนด์ลดหวานเป็นที่พูดถึงกันมากขึ้นทุกปี แต่การเลิกติดหวานไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับคนส่วนใหญ่ จึงมีตัวช่วยอย่าง "น้ำตาลเทียม" เป็นทางเลือกแทนน้ำตาลทั่วไป ส่วนใหญ่ไม่มีพลังงาน แต่ก็เกิดกระแสขึ้นมาอีกว่า "กินมากก็ไม่ดี" ตกลงทานได้ไหม มาทำความรู้จักกับน้ำตาลเทียมให้ดีขึ้นกันดีกว่า

 

น้ำตาลปกติ

น้ำตาลทุกชนิดจากธรรมชาติ แบ่งเป็นสองประเภทใหญ่

  1. น้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว ดูดซึมเร็ว ร่างกายนำไปใช้ประโยชน์ได้ทันที เช่น กลูโคส ฟรุกโทส กาแล็กโทส
  2. น้ำตาลโมเลกุลคู่ ใช้เวลาในการย่อยเล็กน้อยก่อนนำไปใช้ เช่น ซูโครส แลคโทส มอลโทส

 

โทษของน้ำตาลทั่วไป

การทานน้ำตาลมาเกินพอดี จะส่งผลเสียต่อร่างกายมากกว่าหลายคนเข้าใจ 

  1. น้ำตาลดูดซึมเข้ากระแสเลือดได้อย่างรวดเร็ว แปลงเป็นพลังงาน ทำให้น้ำหนักเพิ่ม เป็นโรคอ้วนได้ง่าย
  2. ระดับน้ำตาลในเลือดสูงต่อเนื่อง อาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคเบาหวานประเภทที่ 2
  3. ทำให้ผิวเสีย เหี่ยวย่น แก่ก่อนวัยได้ง่าย เพราะน้ำตาลทำปฏิกิริยาเปลี่ยนโครงสร้างของคอลลาเจนทำให้ โปรตีนที่ทำให้ผิวกระชับ (อีลาสติก) น้อยลง
  4. ถ้ารักษาความสะอาดในช่องปากไม่ดีพอ ทำให้ฝันผุและโรคในช่องปากได้ง่าย
  5. ถึงทำให้ร่างกายสดชื่น แต่ถ้าน้ำตาลสูงเกินไป จะระบบสารสื่อประสาท กระตุ้นกรดอะมิโนทริปโตเฟน ทำให้เหนื่อย ซึมลง ได้ง่าย

 

สารให้ความหวานแทนน้ำตาล

สารให้ความหวานแทนน้ำตาล (Artificial sweeteners) เป็นทางเลือกสำหรับคนต้องการลดน้ำตาล เป็นสารเคมีที่ผลิตได้จากกรรมวิธีทางอุตสาหกรรม มีพลังงานน้อยหรือไม่มีพลังงานเลย มีประโยชน์ในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด

 

1. สารให้ความหวานที่ให้พลังงานเล็กน้อย

สารให้ความหวาน จำพวกน้ำตาลแอลกอฮอล์ เช่น แมนนิทอล ไซลิทอล ซอร์บิทอล

 

2. สารให้ความหวานไม่ให้พลังงาน (น้ำตาลเทียม)

สารให้ความหวานที่เมื่อใช้ในปริมาณเท่ากับน้ำตาล จะไม่ให้พลังงานแคลอรี่ต่อร่างกาย เช่น น้ำตาลทั่วไปให้พลังงาน 4 กิโลแคลอรี่/กรัม สารให้ความหวานบางชนิด หวานกว่าน้ำตาล 200-300 เท่า เมื่อนำมาใช้ในสัดส่วนเท่ากับน้ำตาล จึงให้พลังงานน้อยจนเหมือนไม่ได้ทานอะไร

น้ำตาลเทียมที่ใช้ในอาหารแบ่งเป็นหลายชนิด นิยมใช้ในอาหาร เครื่องดื่ม ต่างกันไป เช่น

  • สตีวีโอไซด์ (Stevia) หรือ หญ้าหวาน
  • นีโอแทม (Neotame)
  • ซูคราโลส (Sucralose) หรือ ขัณฑสกร
  • อะซิซัลเฟมโพแทสเซียม (Acesulfame potassium)
  • แอสปาแตม (Aspartame)

 

สรุป สารให้ความหวานเทียมอันตรายกว่าน้ำตาลหรือไม่

น้ำตาลเทียมปลอดภัยกว่าน้ำตาลทั่วไป จึงสามารถบริโภคได้ในระดับหนึ่ง แต่ไม่ควรทานมากเกินไป

รายงานวิจัยข้อมูลที่ว่า มีความเกี่ยวข้องกับโรคต่างๆ ยังไม่ชัดเจน เป็นเพียงการดึงบางรายงานที่ยังไม่ได้รับการยอมรับมาอ้างเท่านั้น

 

คำแนะนำในการรับประทานน้ำตาล

  • ไม่ควรบริโภคน้ำตาลเกิน 6 ช้อนชา/วัน
  • สตีวีโอไซด์ (สารสกัดจากหญ้าหวาน) เป็นสารให้ความหวานที่ปลอดภัยและได้รับการยอมรับมากสุด แต่มีราคาค่อนข้างสูง ควรบริโภคไม่เกิน 4 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม/วัน และควรสังเกตบนผลิตภัณฑ์ว่าเป็น หญ้าหวาน 100% หรือไม่ เพราะบางผลิตภัณฑ์ใส่หญ้าหวานเพียงเล็กน้อยผสมกับน้ำตาลเทียมชนิดอื่น
  • น้ำผึ้ง จะเป็นน้ำตาลที่พบในธรรมชาติ ถึงมีประโยชน์ แต่มีส่วนประกอบเหมือนน้ำตาลทรายในปริมาณที่สูง ประกอบด้วยน้ำตาลกลูโคสและฟรักโทส ทำให้ค่าไขมันไตรกลีซอไรด์สูงได้ การทานน้ำผึ้งจึงยังส่งผลเสียต่อร่างกายได้ จึงควรทานแต่น้อย
  • สำหรับผู้ป่วยบางโรค เช่น ภาวะฟีนิลคีโตนยูเรีย สตรีมีครรภ์ ต้องระวังน้ำตาลเทียมบางประเภท ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้

 

อ่านอะไรต่อดี

น้ำตาลควรทานวันละกี่ช้อน ทานอย่างไรให้ห่างไกลมะเร็ง

5 ผลไม้น้ำตาลต่ำ คนเป็นเบาหวานทานได้ ช่วยลดน้ำหนัก

10 สัญญาณอันตรายที่บอกว่าคุณกำลังติดหวาน

 

หากใครมีข้อสงสัยเกี่ยวกับเรื่อง ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ยา และปัญหาเรื่องสุขภาพ สามารถปรึกษาเภสัชกรที่ร้านขายยา Fascino ผ่านระบบเทเลฟาร์มมาซี เรายินดีให้คําปรึกษาทุกปัญหาสุขภาพทุกช่องทาง

บทความการดูแลสุขภาพ