อาการของโรคไบโพลาร์ (Bipolar Disorder) ที่หลายคนมักเข้าใจผิด

อาการของโรคไบโพลาร์ (Bipolar Disorder) ที่หลายคนมักเข้าใจผิด

เคยรู้สึกว่าตัวเองมีอารมณ์แปรปรวน อารมณ์ร้าย สลับกับอารมณ์ดี จนส่งผลกระทบต่อการทำงานหรือกระทบกับความสัมพันธ์ต่อคนรอบข้างบ้างไหม ? เคยสงสัยไหมว่าอาการแบบนี้ถือว่าเป็นโรคไบโพลาร์หรือไม่ หายเองได้ไหม ต้องไปหาหมอหรือเปล่า ? บทความนี้เราจะพาทุกคนไปรู้จักกับโรคไบโพลาร์ให้มากขึ้น  


โรคไบโพลาร์ เป็นโรคที่มีความผิดปกติทางอารมณ์สองแบบเปลี่ยนแปลงไปมาสลับกัน คือ อารมณ์ดี คลุ้มคลั่งหรือก้าวร้าวผิดปกติ (Manic Episode) และ อารมณ์ซึมเศร้า (Depressive Episode) ซึ่งโรคไบโพลาร์นั้นเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ความผิดปกติของสารสื่อประสาทในสมอง, การนอนหลับที่ผิดปกติ รวมทั้งความเครียดก็สามารถกระตุ้นให้เกิดความผิดปกติทางอารมณ์ได้เช่นกัน


อาการของโรคไบโพลาร์ แบ่งออกได้เป็น 2 แบบ ได้แก่

1.อารมณ์ดี คลุ้มคลั่ง หรือก้าวร้าวผิดปกติ (Manic Episode)

 ⁃ รู้สึกตนเองมีความสำคัญมาก มีคุณค่าตัวเองสูงเกินจริง

 ⁃ นอนน้อย รู้สึกกระสับกระส่าย

 ⁃ พูดมาก พูดไม่ยอมหยุด พูดเร็ว

 ⁃ ความคิดฟุ้งซ่าน มีหลายความคิดเข้ามาในสมอง กิจกรรมมากมากผิดปกติ


2.อารมณ์ซึมเศร้า (Depressive Episode)

 ⁃ ซึมเศร้า เบื่ออาหาร

 ⁃ นอนหลับมากเกินไป อ่อนเพลีย ไม่มีแรง

 ⁃ รู้สึกผิด รู้สึกตัวเองไร้ค่า ร้องไห้ง่าย

 ⁃ สมาธิลดลง ลังเลใจ ตัดสินใจไม่ได้

 ⁃ คิดอยากฆ่าตัวตาย


สำหรับการรักษาโรคไบโพลาร์สามารถรักษาด้วยยาเป็นหลัก หากสงสัยว่าตนเองหรือคนใกล้ตัวจะเป็นโรคดังกล่าว ควรไปปรึกษาจิตแพทย์เพื่อเข้ารับการรักษาอย่างถูกต้อง เพื่อให้แพทย์วินิจฉัยอาการ ทำความเข้าใจกระบวนการบำบัดจิตใจ รับยาเพื่อปรับสารสื่อประสาทและควบคุมอารมณ์ 


ที่สำคัญ ผู้ป่วยไบโพลาร์นั้นต้องการความเข้าใจและกำลังใจจากครอบครัว สุดท้ายนี้อยากให้ทุกคนเข้าใจว่า ไบโพลาร์นั้นเป็นเพียงอาการป่วยรูปแบบหนึ่งที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน ผู้ที่ป่วยไม่ได้แปลว่าเป็นบ้าหรือน่ารังเกียจ โดยโรคไบโพลาร์นี้สามารถรักษาให้หายได้ และผู้ป่วยสามารถกลับมาใช้ชีวิตปกติในสังคมได้อย่างมีความสุข

บทความการดูแลสุขภาพ