
โควิดรีบาวด์ (Covid Rebound) เป็นคำที่พูดถึงมากขึ้น หลังกรณีของประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาคนล่าสุด โจ ไบเดน ได้ตรวจเจอเชื้อโควิด-19 อีกครั้ง หลังหาย 2 สัปดาห์ ทำให้มีการพูดถึงบ่อย และพบคนที่กลับมาเป็นโควิดซ้ำซ้อนบ่อยขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มที่ใช้ยาต้านไวรัสแบบผิดวิธี หรือ สั่งซื้อออนไลน์จากผู้นำเข้ายาต้านจากประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งเสี่ยงได้รับของปลอม หรือนำไปใช้ผิดวิธี จนเกิดการรีบาวนด์ขึ้น
อาการโควิดรีบาวด์
ส่วนหนึ่งพบว่าผู้ป่วยที่เคยใช้ยาต้านไวรัส 2 ตัว คือ โมลนูพิราเวียร์ และ แพ็กซ์โลวิด เกิดภาวะโควิดรีบาวด์ขึ้นในระยะเวลา 2-4 สัปดาห์หลังหาย
คนที่ติดเชื้อโรคโควิด-19 นั้น จะเกิดปัญหา Long COVID ตามมาได้ โดยมีโอกาสได้ตั้งแต่ 5-30% และอาจเกิดร่วมกับโควิดรีบาวด์ได้
ศ.นพ.ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ได้เผยว่า มีการตรวจพบผู้ป่วยรีบาวด์จากหลายกรณี เช่น
- มีเชื้อกลับมาใหม่ จากการตรวจด้วยวิธี RT-PCR และตรวจ ATK หลังจากหายติดเชื้อแล้ว
- มีอาการกลับมาใหม่ ได้แก่ ไข้ หนาวสั่น ไอ หายใจไม่เต็มอิ่ม เหนื่อยล้า ปวดกล้ามเนื้อปวดหัว เจ็บคอ จมูกคัด น้ำมูกไหล ไม่รับรส กลิ่น อาเจียน ท้องเสีย ผื่น
- ตรวจพบหลังมาตรวจที่โรงพยาบาลเพื่อตรวจเช็คอาการ
กลุ่มเสี่ยงโควิดรีบาวด์
โควิดรีบาวด์ ไม่ได้เกิดกับทุกคนที่ติดเชื้อโควิด ซึ่งผู้ที่พบว่ามีอัตราการเกิดภาวะโควิดรีบาวด์มักจะเป็นผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัว มีโรคหัวใจ ความดันสูง มะเร็งโรคอัมพฤกษ์ โรคปอด โรคไตโรคตับ อ้วน เบาหวาน โรคทางระบบภูมิคุ้มกัน การได้รับการเปลี่ยนถ่ายอวัยวะ รวมถึงการให้ยาต้านภูมิคุ้มกัน
การรีบาวนด์ไม่เกี่ยวพันกับการได้รับวัคซีนหรือไม่ ทั้งนี้ภาวะดังกล่าวไม่ถือว่าเป็นอันตรายหากมีอาการโควิดกลับมาเป็นอีกรอบก็ให้รักษาตามอาการได้เลย แต่ส่วนใหญ่อาการมักจะสงบไปเอง
กลับมาเป็นซ้ำได้ ในกลุ่มที่ทั้งได้รับและไม่ได้รับยาต้านไวรัส
ถึงพบกรณีรีบาวด์ในกลุ่มที่ได้รับยาต้านไวรัส แต่ก็มีผู้ป่วยบางส่วนที่เกิดการรีบาวด์ได้ แม้จะไม่ได้รับยาต้านไวรัสมาก่อน
ข้อมูลของ Deo R และคณะ จาก Harvard Medical School ประเทศสหรัฐฯ ทำการศึกษาเรื่องการเป็นกลับซ้ำ ในกลุ่มคนที่ติดเชื้อโรคโควิด-19 ที่ไม่ได้รับยาต้านไวรัส
สาระสำคัญคือ พบว่าผู้ที่ติดเชื้อจะมีอัตราการมีไวรัสกลับสูงขึ้น (Viral Rebound) หลังจาก 5 วัน สูงถึง ราว 12% หรือประมาณ 1 ใน 8 คน
แนวทางการป้องกันโควิดรีบาวด์
ปัจจุบันยังอยู่ในช่วงการวิจัย ในเบื้องต้นควรการแยกกักตัวในระยะเวลาที่ถูกต้อง และนานเพียงพอ 14 วัน สำหรับโอมิครอนหรืออย่างน้อย 10 วัน โดยไม่มีอาการ และตรวจ ATK ได้ผลลบจึงมีความสำคัญที่จะทำให้แน่ใจเรื่องความปลอดภัย ลดความเสี่ยงในการแพร่เชื้อ และควรใส่หน้ากากอย่างถูกต้องสม่ำเสมอ เพื่อลดความเสี่ยง ถ้าพบอาการผิดปกติหลังติดโควิด ควรปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจร่างกายอีกครั้ง
ขอบคุณข้อมูลจาก: Thai PBS, คมชัดลึก
บทความที่เกี่ยวข้อง
ภาวะ MIS-C ในเด็ก อันตรายหลังหายโควิดที่พ่อแม่ต้องระวัง !
เตือนภัย! ยาฆ่าเชื้อ Amoxicillin ไม่ได้ใช้รักษาโควิด-19
ยาแพกซ์โลวิด (Paxlovid) ลดอัตราเสียชีวิตกลุ่มเสี่ยงสูงได้เกือบ 90%
หากใครมีข้อสงสัยเกี่ยวกับเรื่อง ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ยา และปัญหาเรื่องสุขภาพ สามารถปรึกษาเภสัชกรที่ร้านขายยา Fascino ผ่านระบบเทเลฟาร์มมาซี เรายินดีให้คําปรึกษาทุกปัญหาสุขภาพทุกช่องทาง
- ปรึกษาง่าย ๆ ไม่ต้องโหลดแอป ได้ที่ https://telepharmacy.fascino.co.th/
- Facebook : https://m.me/fascinohealthcarethailand
- Line : https://lin.ee/3mHf2nZ
- โทร : 02-111-6999