
ช่วงวันเสาร์แรกของปีใหม่ เสาร์ที่ 9 มกราคม 2565 ประเด็นเรื่อง เดลตาครอน (Deltacron) ถูกพูดถึงกันมาก ถึงแม้ว่าจะไม่มีหลักฐานยืนยันถึงการแพร่ระบาดมากนัก แต่ด้วยความกังวลทำให้พูดถึงกันอย่างต่อเนื่อง และมีสอบถามกันเข้ามามาก ในที่นี้มาสรุปข่าวให้เข้าใจง่ายๆ กันค่ะ
Update:
- 13 ก.พ. 65 - ภายหลังยืนยันว่ามีจริง โดย ดร. Anan Jongkaewwattana และเริ่มมีข่าวการแพร่ระบาดในหลายประเทศช่วง 17 มี.ค.
- 23 มี.ค. 65 - เริ่มพบในไทย ถึง 73 ราย แต่ยังไม่มีรายงานความรุนแรง
- 15 พ.ย. 65 - เดลตาครอน สายพันธุ์ XBC เริ่มกลับมาระบาดในฟิลิปปินส์ ยังไม่พบในไทย
- 30 พ.ย. 65 - ยืนยันพบ เดลตาครอน (สายพันธุ์ XBC) ในประเทศไทย 1 คน และรักษาหายแล้ว (ที่มา: TNN Online)
พบครั้งแรก
สำนักข่าว Bloomberg รายงานการค้นพบของเลลอนดิออส คอสตริกิส (Leondios Kostrikis) ศาสตราจารย์ด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพแห่งมหาวิทยาลัยไซปรัสและหัวหน้าห้องปฏิบัติการเทคโนโลยีชีวภาพและไวรัสโมเลกุลได้เผยแพร่รายงาน
ในรายงาน ระบุถึง สายพันธุ์ของ Covid-19 ที่รวมเดลต้า (Delta) และโอมิครอน (Omicron) ที่ผสมเข้าด้วยกันและตั้งชื่อว่า "เดลตาครอน" (Deltacron) เนื่องจากมีการระบุลายเซ็นทางพันธุกรรมเหมือนโอมิครอนภายในจีโนมเดลต้า มีการค้นพบ 25 เคส
ข่าวของเดลตาครอนสร้างความกังวลให้กับคนที่ตามข่าวโควิดทุกวัน ซึ่งยอดผู้ติดเชื้อโอมิครอนยังสูงขึ้นมากในหลายประเทศ และอยู่ในเกณฑ์ที่สูงที่ประเทศไทย ทำให้มีการพูดถึงอย่างรวดเร็ว
ข้อมูลยังไม่เป็นทางการ
ถึงมีโอกาสที่จะเกิด โอมิครอน รวมกับ เดลต้า อย่างที่นักวิชาการหลายท่านกังวล แต่ยังเร็วเกินไปที่จะกังวลและด่วนสรุป เพราะมีหลายเรื่องที่ยังต้องติดตาม
- เดลตาครอน ไม่นับว่าเป็นชื่อทางการขององค์การอนามัยโลก
- โดยลักษณะที่พบในห้องทดลอง ควรเรียกว่า "เดลต้ากลายพันธุ์" ก่อน
- ยังไม่ใช่สายพันธุ์ที่น่ากังวล เพราะไม่มีรายงานเรื่องความรุนแรง ประสิทธิภาพการระบาด รายงานการดื้อวัคซีน เลย
- มีการคาดว่า อาจเป็นเพียงการปนเปื้อนในห้องทดลอง
ยืนยันพบเดลตาครอน เดือนกุมภาพันธ์
ในเดือนแรก ไม่มีการแพร่ระบาดใดๆ ทำให้ข่าวที่แพร่จากทาง มหาวิทยาลัยไซปรัส เป็นเพียงการปนเปื้อน
แต่ในเดือนกุมภาพันธ์ ทางอังกฤษยืนยันเรื่องการมีตัวตนของ "เดลตาครอน" ไวรัสลูกผสมเกิดได้ตามธรรมชาติ
สรุป
การค้นพบโควิดสายพันธ์ใหม่ๆ เกิดขึ้นแทบทุกวันผ่านห้องทดลองในหลายประเทศ อย่าง โควิดสายพันธุ์ใหม่ IHU ในฝรั่งเศส แต่ไม่มีข้อมูลเรื่องการแพร่ระบาดในวงกว้าง จึงยังไม่ควรกังวลกับข่าวสารโควิดช่วงนี้จนกว่าจะมีการประกาศอย่างเป็นทางการ
เริ่มมีการประกาศอย่างเป็นทางการหลังผ่านไปอีกเดือนกว่า ว่าค้นพบ เดลตาครอน จริง แต่ยังต้องรอยืนยันเรื่องความรุนแรง และอาจไม่ได้น่ากังวลอย่างที่คิด
20 ม.ค. 65 - ผ่านไปร่วม 10 วัน มีการยืนยันว่า Deltacron ไม่มีอยู่จริง เป็นไวรัสสายพันธุ์เดลต้าเดิมที่ปนเปื้อนในขั้นตอนตรวจแล็บวิเคราะห์สารพันธุ์กรรมเท่านั้น (จากไซปรัส)
14 ก.พ. 65 - อังกฤษยืนยันว่ามี เดลตาครอน จริง
17 มี.ค. 65 - องค์การอนามัยโลก ยืนยันการมีอยู่จริงของโควิด-19 สายพันธุ์ลูกผสม "เดลตาครอน" พบระบาดแล้วในหลายประเทศ (Youtube)
23 มี.ค. 65 - เริ่มมีรายงาน พบเดลตาครอน ในไทยถึง 73 ราย แต่ยังไม่มีรายงานเรื่องความรุนแรง
ขอบคุณข้อมูล: Posttoday, เพจ อ๋อ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง by อาจารย์เจษฎ์
บทความเกี่ยวข้อง
- เดลตาครอน XBC โควิดลูกผสม แพร่เร็ว โจมตีปอด
- โรคใหลตาย ภัยใกล้ตัว อันตรายกว่าที่คิด
- เปรียบเทียบอาการโควิด โอมิครอน และ เดลต้า เหมือนตรงไหน ต่างอย่างไร
- สรุปสั้นๆ โควิดลูกผสมสายพันธุ์ โอมิครอน
- โรค ASF ติดจากหมูสู่คนได้หรือไม่ อันตรายต่อร่างกายแค่ไหน