วันศุกร์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2564 ทุกภาคส่วน ทั้งเกษตรกร ภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนทั่วไปขออนุญาตปลูกกัญชงในประเทศไทยได้ ไม่ผิดกฎหมาย ทั้งวัตถุประสงค์ทาง การค้า การแพทย์ การศึกษาวิจัย การใช้ตามวิถีชีวิต ประเพณี วัฒนธรรม หรือผลิตเมล็ดพันธุ์รับรอง อย. ชูกัญชงให้เป็นพืชเศรษฐกิจของประเทศ ให้เกษตรกรมีรายได้จากการปลูกกัญชง ประชาชน ผู้ประกอบการ สามารถขออนุญาตนำวัตถุดิบกัญชงที่ปลูกได้ไปแปรรูปและผลิตเป็นผลิตภัณฑ์สุขภาพต่าง ๆ เช่น ยา ผลิตภัณฑ์สมุนไพร อาหาร ผลิตภัณฑ์ดูแลผิว หรือเครื่องสำอาง สำหรับใช้ภายในประเทศ และส่งออก เพื่อต่อยอดในเชิงพาณิชย์ สร้างคุณค่าทางเศรษฐกิจของประเทศ
วิธีขออนุญาตปลูกกังชง
การปลูกกังชงถึงถูกกฎหมาย แต่ต้องขออนุญาตจาก อย ก่อนถึงจะปลูกได้ รวมทั้งต้องมีวัตถุประสงค์ปลูกเพื่ออะไรให้ทราบด้วย การปลูกสวยงามเป็นไม้ประดับบ้านเพื่อความสวยงาม จะไม่ได้รับอนุญาต และผิดกฎหมาย
การขออนุญาตให้เตรียมเอกสารตามที่ อย. กำหนด (Link) แล้วไปยื่นเอกสาร
- หากสถานที่ปลูกอยู่ที่กรุงเทพฯ ให้ยื่นคำขอที่ อย.
- อยู่ที่ต่างจังหวัด ให้ยื่นคำขอที่ สสจ.
- การนำเข้าเมล็ดพันธุ์กัญชง ให้ยื่นคำขอที่ อย.
ภายใต้กฎกระทรวงฉบับนี้สามารถขออนุญาตส่งออกกัญชงได้ และภายใน 5 ปี นับแต่วันที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับ
กัญชงทำอะไรได้บ้าง
สมุนไพร กัญชง ถือเป็นพืชที่มีประโยชน์ทุกส่วน ส่วนใหญ่ใช้ทำผลิตภัณฑ์ดูแลผิวได้หลายส่วน ใช้ประโยชน์ได้ทั้งต้น ต้นทุนไม่สูง เหมาะกับการสร้างรายได้ให้ครัวเรือนหรือเป็นธุรกิจ
- ช่อดอก ใช้เป็นยาแผนปัจจุบัน หรือ ยาแผนไทย
- เมล็ด น้ำมัน และสารสกัดจากเมล็ดกัญชง ใช้ทำอาหาร และ เครื่องสำอาง
- ใบจริง ใบพัด ใช้เป็นสมุนไพร อาหาร และ เครื่องสำอาง
- เปลือก ลำต้น เส้นใย ใช้ทำเครื่องสำอาง ครีมขัดผิว สบู่ แชมพู
- สารสกัด CBD และ มี THC ไม่เกิน 0.2% ใช้ทำเวชสำอาง สมุนไพรภายนอก ยา ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
- กิ่งก้าน: ผลิตภัณฑ์สมุนไพร, เครื่องสำอาง
- ราก: เครื่องสำอาง
กัญชงกับกัญชา ต่างกันอย่างไร
กัญชง คล้ายกับ กัญชา แต่มีจุดสังเกตหลายอย่าง ปัจจุบัน กัญชา ยังไม่สามารถปลูกได้ตามบ้านเรือน แต่สามารถขอปลูกกัญชงได้เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับครัวเรือน หรือ เป็นอาชีพเสริม มีหลายส่วนที่นำไปใช้เป็นประโยชน์ได้
กัญชาและกัญชง ต้นกำเนิดของพืชทั้งสองชนิดมาจาก Cannabis sativa L. เหมือนกัน แต่ต่างสายพันธุ์กัน และนำมาใช้ประโยชน์บางอย่างได้แตกต่างกัน
ขณะที่สารสำคัญของกัญชงนั้นจะไม่ใช่สาร THC แต่จะเป็น CBD (Canabidiol) ซึ่งถ้าหากเสพ CBD แล้วจะไม่ได้เคลิบเคลิ้มเหมือนกับกัญชา หลักๆ แล้วจะถูกสกัดออกมาเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ เช่น การลดอาการเจ็บปวด หรือช่วยต้านอาการของโรคลมชัก
เมื่อ 15 ธ.ค. 63 มีการปลดล็อกส่วนของกัญชา และกัญชงให้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้โดยไม่จัดเป็นยาเสพติด ยกเว้นช่อดอก และเมล็ดกัญชา ยังไม่ปลดล็อกจากยาเสพติด ทั้งนี้ เนื่องจากตามอนุสัญญายาเสพติดระหว่างประเทศยังควบคุมเป็นยาเสพติด แต่ใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ได้ อย่างไรก็ตาม หลักๆของการปลดล็อกจากยาเสพติดคือ
- ใบที่ไม่ติดกับช่อดอก เปลือก ลำต้น เส้นใย กิ่ง ก้าน ราก ไม่เป็นยาเสพติด
- เมล็ดกัญชง น้ำมัน สารสกัด เมล็ดกัญชง
- สารสกัด CBD และในส่วนสาร THC ต้องไม่เกิน 2%
รองเลขาธิการฯ กล่าวในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2564 อย. จะจัดอบรมทางออนไลน์ให้ความรู้เกี่ยวกับกัญชง ในเรื่องกฎหมาย การยื่นคำขออนุญาตเกี่ยวกับกัญชง และการขออนุญาตผลิตภัณฑ์สุขภาพจากกัญชง ผู้ที่สนใจสามารถรับชมทาง Facebook Live FDAThai หรือสอบถามรายะเอียดเพิ่มเติมที่เบอร์ 0-2590-7771-3
ที่มาและภาพประกอบ: Oryor, TheMatter