ไฮโดรเจนไซยาไนด์ สารพิษอันตรายถึงชีวิต

ไฮโดรเจนไซยาไนด์ สารพิษอันตรายถึงชีวิต

ช่วงกลางพฤศจิกายน มีข่าว ชายแดนแม่สายได้กลิ่นไซยาไนด์เป็นระยะ ในระดับเกินมาตรฐานในหลายหมู่บ้าน เป็นระยะต่อเนื่องนาน 2-3 เดือนซึ่งเริ่มส่งผลต่อสุขภาพของผู้ป่วย ขึ้นชื่อว่า "ไซยาไนต์" หลายคนคงรู้จักกันดี ว่าเป็นสารเคมีที่ขึ้นชื่อเรื่องอันตราย แล้วทำไมถึงยังพบจากโรงงานอุตสาหกรรมได้ และต่างจาก "ไฮโดรเจนไซยาไนด์" อย่างไร มาทำความเข้าใจกันค่ะ

 

สารไฮโดรเจนไซยาไนด์

สารไฮโดรเจนไซยาไนด์ (Hydrogen cyanide : HCN) แก๊สไม่มีสี มีกลิ่นฉุน เกิดจากการทำปฏิกิริยาของเกลือไซยาไนด์ (Cyanide salt) กับกรด ส่วนใหญ่มาจากการเผาไหม้หรือสารประกอบของ ถ่านหินลิกไนต์ พลาสติก ยาง เส้นใย ขนสัตว์ หนังสัตว์ และไม้บางชนิด

หากได้รับกลิ่นปริมาณน้อย อาจทำให้มึนงง หายใจเร็ว อาเจียน ปวดหัว แสบคอ แสบจมูก แน่นหน้าอก มึนงง ง่วงซึม

หากได้รับปริมาณมากอาจทำให้หมดสติ ชัก และเสียชีวิตได้

 

วิธีการรับมือเบื้องต้น

กรณีที่ยังไม่สามารถอพยพออกจากบริเวณที่มีสารเคมีในปริมาณมากได้ การรับมือในช่วงแรกมีดังนี้

  1. ถึงหน้ากากอนามัยทั่วไปจะกันสารเคมีไม่ได้ แต่การสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา ซึ่งช่วยลดสารบางส่วนได้บ้าง
  2. งดเปิดหน้าต่างในช่วงเวลากลางคืน เพราะเป็นช่วงที่ลมสงบ โดยเฉพาะช่วงฤดูหนาวความกดอากาศสูง ทำให้กลุ่มควันไม่ลอยไปในอากาศ มีกลิ่นโชยเข้ามาบ้านเรือนชัดเจนมากขึ้นกว่าตอนกลางวัน

หากมีอาการผิดปกติรุนแรง ควรรีบไปที่สาธารณสุขและสถานพยาบาลใกล้บ้าน

 

การช่วยเหลือผู้ป่วยที่สูดสารเคมี

ผู้ป่วยยังมีสติ

  1. หากสูดดมในปริมาณไม่มาก ให้ตั้งสติแล้วพาผู้ป่วยออกจากบริเวณ
  2. ถ้าทำได้ ควรถอดเสื้อผ้าเดิมเพราะมีสารเคมีสะสมบนเสื้อ

ผู้ป่วยหมดสติ

  1. ให้รีบพาตัวผู้ป่วยออกจากพื้นที่นั้นทันที ไปที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก
  2. ประเมินการหายใจและการเต้นของหัวใจ หากผู้ประสบเหตุมีชีพจรอ่อน ให้ทําพีซีอาร์หรือปั๊มหัวใจ และรีบส่งตัวผู้ป่วยไปโรงพยาบาลโดยด่วน

 

อ่านอะไรต่อดี

8 สารเคมี ควันพิษ วัสดุเผาไหม้ ที่ต้องระวังและวิธีปฐมพยาบาล

ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ผสมไซบูทรามีน สังเกตได้อย่างไร

โรคใหลตาย อาการและวิธีป้องกันโรคหลับไม่ตื่น

 

 

หากใครมีข้อสงสัยเกี่ยวกับโรคทั่วไป ยา และปัญหาเรื่องสุขภาพ สามารถปรึกษาเภสัชกรที่ร้านขายยา Fascino ผ่านระบบเทเลฟาร์มมาซี เรายินดีให้คําปรึกษาทุกปัญหาสุขภาพทุกช่องทาง ไม่มีค่าใช้จ่าย

บทความการดูแลสุขภาพ