Long Covid หายป่วยโควิด แต่ไม่หายขาด ไปอีกนาน

Long Covid หายป่วยโควิด แต่ไม่หายขาด ไปอีกนาน

พอวัคซีนเริ่มเข้ามาในไทยจำนวนมาก โดยเฉพาะวัคซีนกลุ่ม mRNA แล้วยังมียาต้านไวรัสหลายตัว อย่าง ฟาวิพิราเวียร์ บางคงคิดว่าโควิด-19 ไม่น่ากลัว ถึงเป็นไม่ตาย คนหายจากโควิดก็หลายแสน โอกาสตายก็ลดลง แต่คุณรู้หรือไม่ว่า ผู้ป่วยที่รักษาจนหายดี กลับมาใช้ชีวิตตามปกติได้นั้น มีจำนวนมากที่ได้รับผลข้างเคียงจากการเคยติดเชื้อโควิด อาการเหล่านี้คงอยู่ไปอีก 3-9 เดือน สร้างความลำบากในการใช้ชีวิตไปอีกนานโดยรักษาไม่ได้

ผู้ป่วยโควิด-19 ที่รักษาหายแล้วบางราย อาจมีอาการหลงเหลือต่อเนื่องเป็นเวลานาน ซึ่งจะพบมากในผู้สูงอายุ ผู้ที่มีภาวะอ้วน หรือน้ำหนักเกิน และผู้ที่มีโรคประจำตัว ซึ่งกลุ่มที่มีอาการอาจจะมีอาการตั้งแต่ 1 เดือน หรือมากกว่า 4-6 สัปดาห์ จะเป็นอาการที่เรียกว่า Post Covid Syndrome หรือ Long COVID หรือ อาการหลงเหลือหลังติดเชื้อโควิด-19 ในระยะยาว มีอาการหลายแบบ ถึงหายได้ แต่อาการคงอยู่ไปอีกนานหลายเดือน หรืออาจเกือบปี ทำให้ผู้ป่วยทุกข์ใจ



Long Covid คืออะไร ? 

Long COVID หรือ อาการหลงเหลือหลังติดเชื้อโควิด-19 ในระยะยาว เนื่องจากในขณะที่ป่วยโควิด-19 ร่างกายมีการสร้างแอนติบอดีบางอย่างขึ้นมาไปจับกับโปรตีนเซลล์ของอวัยวะบางส่วนในร่างกาย และไปทำลายอวัยวะส่วนต่างๆ ทำให้เกิดอาการหลายอย่าง

อาการ Long COVID เป็นอาการเจ็บป่วยที่ไม่มีลักษณะตายตัว อาจเหมือนหรือต่างกันในแต่ละบุคคล ซึ่งผลกระทบของ Long COVID สามารถเกิดขึ้นได้ทั่วร่างกาย ตั้งแต่ระบบหายใจ, ระบบประสาท, ระบบทางเดินอาหาร, หัวใจและหลอดเลือด ทำให้ผู้ที่หายป่วยบางรายยังไม่สามารถกลับไปใช้ชีวิตได้อย่างเดิม โดยอาการ Long Covid นี้ มีโอกาสเกิดขึ้นได้ 30-50% จากผู้ติดเชื้อโควิดที่รักษาหายแล้ว

 

ผลการศึกษาอาการ

จากการเปรียบเทียบผลสำรวจในผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาโรค COVID-19 จะพบว่า ผู้ติดเชื้อที่มีอาการไม่รุนแรง มักหายภายใน 1-2 สัปดาห์ หรืออาจใช้เวลาในการฟื้นตัวนานถึง 6 สัปดาห์หลังติดเชื้อครั้งแรก แต่ในปี 2564 กลับมีรายงานว่า กว่า 3 ใน 4 ของผู้ป่วย COVID-19 ที่รักษาในโรงพยาบาล ณ เมืองหวู่ฮั่น ยังคงมีอาการอย่างน้อยหนึ่งอาการ ภายใน 6 เดือนหลังออกจากโรงพยาบาล ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาในปี 2563 ของประเทศอิตาลี ที่พบว่ากว่า 87.4% ของผู้ป่วยที่ผ่านการรักษาโรค COVID-19 ยังคงมีอาการอย่างน้อยหนึ่งอาการ ภายใน 2 เดือนหลังออกจากโรงพยาบาล

ในขณะที่งานวิจัยทางการแพทย์ชิ้นหนึ่งของสหราชอาณาจักร (UK) พบว่า กว่าครึ่งหนึ่งของผู้ป่วย COVID-19 ในอังกฤษที่ตรวจไม่พบเชื้อแล้วถูกปล่อยตัวจากโรงพยาบาลให้กลับบ้าน ยังคงมีอาการยาวนานถึง 3 เดือน และด้วยอาการของ COVID-19 ที่ต้องใช้เวลาฟื้นตัวกว่า 12 สัปดาห์ขึ้นไป สถาบันแห่งชาติเพื่อการดูแลสุขภาพและความเป็นเลิศ (NICE) จึงเรียกอาการเรื้อรังนี้ว่า “ภาวะลองโควิด" (LONG COVID)

 

ภาวะ Long Covid

ภาวะลองโควิดอาจเกิดตั้งแต่สัปดาห์แรก ๆ หลังติดเชื้อโควิด หรืออาจทิ้งระยะไปเป็นเดือน ๆ กว่าจะแสดงอาการ โดยอาการที่พบมากที่สุดของผู้มีภาวะ Long COVID คือ 

  1. เหนื่อยล้า
  2. หายใจไม่อิ่ม
  3. ปวดกล้ามเนื้อ
  4. ไอ
  5. ปวดหัว
  6. เจ็บข้อต่อ
  7. เจ็บหน้าอก
  8. ท้องร่วง
  9. การรับกลิ่นเปลี่ยนไป
  10. การรับรสเปลี่ยนไป

 

นอกจากนี้ ก็ยังมีอาการอื่น ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้อีก เช่น 

  • ปวดหัว
  • มึนงง
  • ไม่สดชื่น 
  • ความจำสั้น
  • สมาธิสั้น
  • แสบตา คันตา น้ำตาไหล
  • คัดจมูก จมูกไม่ได้กลิ่น
  • การรับรสเปลี่ยนไป หรือ
  • บางคนอาจมีอาการชาที่ลิ้น
  • หอบเหนื่อย หายใจไม่ทัน หายใจลำบาก
  • ใจสั่น เจ็บแน่นหน้าอก
  • มีไข้
  • ปวดท้อง อาหารไม่ย่อย
  • ปวดข้อ
  • กล้ามเนื้อลีบ กล้ามเนื้ออ่อนแรง
  • มีภาวะสมองล้า
  • นอนไม่หลับ
  • ความดันโลหิตสูง
  • วิตกกังวล ซึมเศร้า 

 

ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคสหรัฐฯ (CDC) ระบุถึงอาการที่พบได้บ่อยในผู้ที่มีภาวะลองโควิด ว่ามักจะรู้สึกเหนื่อยล้ามาก อ่อนเพลีย, หายใจถี่, แน่นเจ็บหน้าอก และปวดข้อเข่า หรือในบางรายอาจมีอาการ อย่าง ปวดตามกล้ามเนื้อ, ปวดหัว, มีไข้เป็นๆ หายๆ, ใจสั่น และอาจมีภาวะซึมเศร้าได้

กรณีที่อาการลองโควิดเรื้อรังยาวนานมาก ก็ยังอาจส่งผลข้างเคียงต่ออวัยวะร่างกายส่วนอื่นๆ ได้ เช่น ปอดทำงานผิดปกติ, ผมร่วง, ผื่นขึ้น, มีปัญหาเกี่ยวกับการได้กลิ่นและการรับรสชาติ, นอนไม่หลับ, มีปัญหาด้านความจำ ขาดสมาธิ และอารมณ์แปรปรวน 

 

ใครเป็นกลุ่มเสี่ยงต่ออาการ Long COVID บ้าง ?

  • ผู้สูงอายุ
  • ผู้ที่มีน้ำหนักตัวเยอะ กลุ่มคนอ้วน
  • ผู้ที่มีโรคประจำตัว
  • ผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันต่ำ

 

ผู้ที่ติดเชื้อโควิด-19 และมีอาการรุนแรง จะมีความเสี่ยงที่จะมีอาการ Long Covid ได้มากกว่ากลุ่มที่ติดเชื้อแต่ไม่มีอาการ แต่ในกลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการไม่หนักหรือผู้ป่วยที่ติดเชื้อแบบไม่แสดงอาการ ก็มีโอกาสที่จะมีอาการ Long COVID ได้ แต่จะไม่พบในผู้ที่มีภูมิคุ้มกันที่ได้จากการรับวัคซีน

นอกจากนี้ เวปไซต์โรงพยาบาลพญาไทลงข้อมูลไว้ว่า จากผลการติดตามผู้ป่วย COVID-19 ในเมืองเลสเตอร์ จำนวนกว่า 1,000 ราย พบว่า โอกาสเกิดภาวะลองโควิดจะเพิ่มสูงขึ้นในผู้ป่วยหญิงอายุ 40-60 ปี ที่มีโรคประจำตัว อย่าง โรคหัวใจและหลอดเลือด, โรคหอบหืด และโรคเบาหวานชนิดที่ 2 

ในขณะที่ตัวเลขสถิติจาก The COVID Symptom Study app พบว่า ภาวะลองโควิดสามารถส่งผลกระทบต่อผู้ป่วยที่มีอายุ 18-49 ปี ได้ประมาณ 10% และเพิ่มสูงถึง 22% ในผู้ป่วยที่มีอายุมากกว่า 70 ปี และยังพบความเชื่อมโยงของความเสี่ยงที่สูงขึ้นในผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว อย่างโรคหอบหืดอีกด้วย

สำหรับกลุ่มเสี่ยงในการเกิดภาวะลองโควิดนั้น ยังถือว่าเป็นเพียงการศึกษาวิจัยในระยะต้น ตัวเลขอายุ...ประเภทของโรคประจำตัว จึงอาจยังไม่ใช่คำตอบที่ยืนยันกลุ่มเสี่ยงได้เฉพาะเจาะจง และในขณะเดียวกัน ผู้ป่วยที่ไม่ใช่กลุ่มเสี่ยงสูงในผลการศึกษา ก็อาจมีโอกาสเผชิญกับภาวะลองโควิดนี้ได้

หายจากโควิดแล้ว แต่ทำไมยังมีอาการลองโควิดได้อีก ? 

สำหรับสาเหตุของอาการลองโควิดยังไม่มีการรายงานแน่ชัด แต่จากผลการศึกษาคาดว่า มีความเป็นไปได้ที่อาจเกิดจากปัจจัยเหล่านี้ 

  • ระบบภูมิคุ้มกันมีประสิทธิภาพในการต่อสู้เชื้อโรคลดลง
  • การกำเริบของโรค หรือเกิดการติดเชื้อซ้ำ
  • การเปลี่ยนแปลงของร่างกายหลังนอนพักรักษาตัวมานาน ไม่ค่อยได้เคลื่อนไหว
  • ภาวะเครียดหลังเจอเรื่องร้ายแรง (Post-Traumatic Stress)

หากเริ่มสังเกตว่าตนเองมีอาการผิดปกติรุนแรง เช่น อาการหายใจไม่ออกหรือแย่ลงกว่าเดิม, เริ่มมีภาวะสับสน มีปัญหาการรับรู้ ซึ่งอาจเกิดจากความผิดปกติทางกายที่ส่งผลกระทบต่อการทำงานของสมอง หรือมีอาการผิดปกติเกี่ยวกับการได้ยิน การมองเห็น หรือการพูด นี่เป็นสัญญาณว่าควรรีบไปพบแพทย์โดยเร็ว

 

อาการลองโควิด เป็นนานแค่ไหน ? 

จากการทำการศึกษาจนถึงเวลานี้ ระยะเวลาของอาการที่นานที่สุดยังคงไม่มีความชัดเจน แต่ก็พอประเมินได้ว่า ระยะเวลานานที่สุดมีตั้งแต่ 3 เดือน, 6 เดือน และมีความเป็นไปได้ถึง 9 เดือน หรือนานกว่านั้น

 

ถ้าฉีดวัคซีนแล้ว ยังมีโอกาสเป็นลองโควิดอยู่อีกไหม ? 

แม้ฉีดวัคซีนแล้ว ก็ยังมีโอกาสเป็นลองโควิดได้อยู่

โดยมีความเป็นไปได้ว่า อาการจะลากยาวตั้งแต่ 1 เดือน, 3 เดือน, 6 เดือน หรือนานกว่านั้น หลังติดเชื้อโควิด-19 ครั้งแรก หรือแม้ว่าจะรับวัคซีนต้านโควิด-19 ครบสูตรแล้วก็ตาม

เหตุผลเพราะ มีความเป็นไปได้ที่คนที่เคยติดเชื้อโควิด-19 จนมีแอนติบอดีในระดับหนึ่ง หรือฉีดวัคซีนครบสูตรแล้ว จะกลับมาติดเชื้อซ้ำอีกครั้งได้ โดยเฉพาะในห้วงเวลาที่โลกใบนี้มีโควิดสายพันธุ์ใหม่ๆ ถือกำเนิดอยู่เรื่อยๆ

เอกสารจากทาง CDC ระบุไว้ว่า "แม้คนคนนั้นจะไม่มีอาการโควิด-19 ยาวนานหลายวันหรือหลายสัปดาห์หลังจากติดเชื้อ ก็สามารถมีอาการ Long COVID ได้ โดยอาการต่างๆ สามารถเกิดขึ้นได้หลากหลาย และสามารถผสมปนเปกับปัญหาสุขภาพเดิมในช่วงระยะเวลาที่แตกต่างกัน"  นั่นหมายถึงว่า ผู้ป่วย Long COVID จะลงเอยด้วยอาการเหนื่อยล้าเรื้อรังได้ ซึ่งเป็นอาการส่วนใหญ่ที่พบโดยทั่วไป รวมถึงยังมีปัญหาการหายใจ, ปัญหาผิวหนัง หรือระบบทางเดินอาหารทำงานน้อยลง

จากการศึกษาอีกฉบับของคณะวิจัย TLC พบว่า ประมาณ 1 ใน 4 ของผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 มีอาการอย่างน้อย 1 อาการที่ลากยาวนาน 30 วัน (1 เดือน) หรือมากกว่านั้น หลังติดเชื้อ

 

อาการลองโควิด รักษาได้ไหม ? 

WHO ให้คำตอบว่า วิธีการรักษาอาการ Long COVID ไม่ควรจำเพาะเจาะจง แต่ควรรักษาในหลากหลายแขนง ความหมาย คือ พวกเขาควรเข้ารับการดูแลรักษาเบื้องต้น และเชื่อมโยงต่อไปยังผู้เชี่ยวชาญหรือมืออาชีพด้านต่างๆ เพื่อทำให้สุขภาพกลับมาปกติ ไม่เว้นแม้แต่เจ้าหน้าที่ดูแลสังคม, เจ้าหน้าที่เยียวยาสภาพจิตใจสังคม, ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิต

สำหรับการบำบัดรักษาเฉพาะทางเกี่ยวกับ Long COVID คงต้องให้เวลาในการเรียนรู้เพิ่มเติม เพราะเพิ่งเผชิญกับโควิด-19 เพียงปีครึ่งเท่านั้น แต่ก็หวังว่า ในเวลาต่อมา เราจะมีการบำบัดรักษาเฉพาะทาง Long COVID นี้

อาการ Long COVID นับเป็นอาการหลังโควิด-19 ที่น่าจับตา เพราะมีการแปรผกผันของอาการหลากหลายอย่าง อีกทั้งยังมี "ตัวแปร" ของโรคพื้นเดิม และกลไกภูมิคุ้มกันของ Long COVID ด้วย เพราะฉะนั้น เราจึงเห็นได้ว่า บรรดานักวิจัย รวมถึง WHO จึงพยายามหาทางศึกษาอย่างเร่งด่วน เพื่อพัฒนาการบำบัดรักษาที่มีประสิทธิภาพ

อย่างไรก็ตาม "ผลกระทบ" ที่น่าเป็นห่วงของผู้ป่วยอาการ Long COVID ในรายงานต่างๆ นั้น พบว่า มี 3 อย่างด้วยกัน คือ จากสภาวะร่างกายที่เปลี่ยนแปลงไปในระยะเวลาอันยาวนาน กำลังส่งผลให้ผู้ป่วยเกิดปัญหาในการดำรงชีวิต, ทำงาน และสภาพจิตใจ การให้กำลังใจจากคนรอบข้างและคนในครอบครัว จึงถือเป็นเรื่องที่สำคัญที่จะช่วยให้ผู้ที่หายป่วยจากโควิด มีกำลังใจมากยิ่งขึ้น

 

ผลกระทบระยะยาวต่อสุขภาพจากโควิด เป็นอาการที่เจอตั้งแต่ 3 เดือน นับจากวันที่ตรวจพบเชื้อ และยังมีอาการอย่างน้อย 2 เดือน เกิดขึ้นได้หลายระบบ และอาการที่เกิดขึ้นไม่สามารถอธิบายได้ด้วยการวินิจฉัยอื่นๆ อาการที่มักพบได้บ่อยมีดังนี้

  1. ระบบประสาท พบได้ 27.33% ได้แก่ อ่อนแรงเฉพาะที่เฉียบพลัน ปวดศีรษะ มึนศีรษะ หลงลืม กล้ามเนื้อลีบ
  2. ระบบทางจิตใจ พบได้ 32.1% ได้แก่ นอนไม่หลับ วิตกกังวล ซึมเศร้า
  3. ระบบหายใจและหลอดเลือด พบได้ 22.86% ได้แก่ เจ็บหน้าอก ใจสั่น
  4. ระบบทางเดินหายใจ พบได้ 44.38% ได้แก่ หอบเหนื่อย ไอเรื้อรัง
  5. ระบบผิวหนัง พบได้ 22.8% ได้แก่ ผมร่วง ผื่นแพ้
  6. ระบบทั่วไป พบได้ 23.41% ได้แก่ อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดตามข้อ

อาการผิดปกติที่ว่ามา ส่วนใหญ่หายได้เอง แต่ถ้าเป็นนานเกินกว่า 2 เดือน ควรปรึกษาแพทย์

อินโฟจาก FB หมอแล็บแพนด้า

 

ที่มา: รพ.วิชัยเวชฯ หนองแขม, รพ.พญาไท, ไทยรัฐ
ภาพปกจาก: Pixabay

 

บทความแนะนำ

 

Long Covid (ลองโควิด) อาการตกค้างหลังหายโควิด | FasLive

บทความการดูแลสุขภาพ