จุดเด่นของวัคซีน mRNA ที่ต้องการเพื่อรับมือโควิดกลายพันธุ์

จุดเด่นของวัคซีน mRNA ที่ต้องการเพื่อรับมือโควิดกลายพันธุ์

ช่วงสถานการณ์โควิดระรอก 3 ในไทยอย่างหนัก ไวรัสเดลต้า (สายพันธุ์อินเดีย) เริ่มกระจายเป็นวงกว้าง การกระตุ้นภูมิคุ้มกันหมู่ทำได้ล่าช้า คนไข้ติดเชื้อง่ายในทุกเพศและทุกวัย หมอทำงานหนัก เตียงเต็ม จากปัญหามากมาย จึงเริ่มมีการเรียกร้องวัคซีนทางเลือกประเภท mRNA อย่าง ไฟเซอร์ และ โมเดอร์นา เข้ามารักษาโดยเร็วที่สุด เพราะวัคซีนประเภทเชื้อตายแบบซิโนแวค รับมือโควิดกลายพันธุ์ลำบากขึ้น ส่วนวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า หรือ ซิโนฟาร์ม ก็ผลิตไม่ทัน ทำให้วัคซีนประเภท mRNA ถูกพูดถึงต่อเนื่อง

 

ประเภทวัคซีน

mRNA หรือ ชนิดสารพันธุกรรม

วัคซีนชนิด mRNA: Pfizer, Moderna

วัคซีนชนิดสารพันธุกรรม เป็นเทคโนโลยีใหม่ที่เคยใช้กับการพัฒนาวัคซีนป้องกันโรคอีโบล่า วัคซีนชนิดนี้จะใช้สารพันธุกรรมของโควิด-19 หรือเชื้อไวรัสซาร์ส-โควี-2 (SARS-CoV-2) เข้าไปกำกับการสร้างโปรตีนส่วนหนาม (spike protein) และทำให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันต่อเชื้อโควิด-19 ออกมา

 

Viral vector หรือ ใช้ไวรัสเป็นพาหะ

วัคซีนชนิด Viral Vector: AstraZeneca, Johnson & Johnson, SputnikV

พัฒนาโดยการนำไวรัสที่ถูกทำให้อ่อนฤทธิ์ลงแล้ว หรือไม่สามารถแบ่งตัวได้อีก มาตัดแต่งพันธุกรรมเพื่อใช้เป็นพาหะ แล้วฝากสารพันธุกรรมของโควิด-19 เข้าไป ทำให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมา ซึ่งเทคนิคนี้เป็นวิธีที่สามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ดี เนื่องจากเลียนแบบการติดเชื้อที่ใกล้เคียงธรรมชาติ

 

Protein-based หรือ ใช้โปรตีนส่วนหนึ่งของเชื้อ

วัคซีนชนิด Protein-base: Novavax

วัคซีนที่ทำจากโปรตีนส่วนหนึ่งของเชื้อ ไวรัสซาร์ส-โควี-2 (SARS-CoV-2) โดยการนำเอาโปรตีนบางส่วนของโควิด-19 เช่น โปรตีนส่วนหนาม มาผสมกับสารกระตุ้นภูมิ ก่อนฉีดเข้าร่างกาย แล้วนำมาผสมกับสารกระตุ้นภูมิ เมื่อฉีดเข้าไปแล้วจะกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัส ใช้กันมานานแล้ว เพราะเป็นเทคนิคที่ใช้ผลิตวัคซีนไข้หวัดใหญ่ และวัคซีนตับอักเสบชนิดบี

 

Inactivated vaccines หรือ ชนิดเชื้อตาย

วัคซีนชนิด Inactivated: Sinopharm, Sinovac

ผลิตขึ้นจากการนำเชื้อโควิด-19 มาทำให้ตายด้วยสารเคมีหรือความร้อน ก่อนฉีดเข้าร่างกายเพื่อกระตุ้นให้เกิดการสร้างภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัส เทคนิคนี้ผลิตได้ค่อนข้างช้า ต้นทุนสูง เพราะต้องผลิตในห้องปฏิบัติการนิรภัยระดับ 3

 

จุดเด่นของ mRNA

  • เอ็มอาร์เอ็นเอ (mRNA) ใช้เทคโนโลยีใหม่สังเคราะห์สารพันธุกรรมเอ็มอาร์เอ็นเอ (messenger RNA: mRNA) ที่เฉพาะเจาะจงกับเชื้อไวรัส
  • วัคซีนที่มีใช้ในปัจจุบัน ได้แก่ วัคซีนของบริษัท Pfizer และ Moderna 
  • วัคซีนจะทำหน้าที่พา mRNA เข้าเซลล์ และ กํากับให้เซลล์ผลิตสารโปรตีนสไปค์ของเชื้อไวรัส ซึ่งโปรตีนนี้จะกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายให้สร้างแอนติบอดีขึ้นมาต่อต้านเชื้อ
  • จากข้อมูลในปัจจุบัน วัคซีนชนิดนี้มีประสิทธิภาพในการป้องกันโรคได้ประมาณ 95% ป้องกันการป่วยรุนแรงและป้องกันการเสียชีวิตได้ 100%
  • วัคซีนของบริษัท Pfizer ควรได้รับการฉีด 2 เข็มเข้ากล้ามเนื้อ ห่างกัน 3 สัปดาห์
  • วัคซีนของบริษัท Moderna ควรได้รับการฉีด 2 เข็มเข้ากล้ามเนื้อ ห่างกัน 4 สัปดาห์

 

ทำไมต้อง mRNA

ช่วงปลายเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2564 หลายองค์กรทางการแพทย์ทยอยออกแถลงการณ์หรือข้อเรียกร้องให้รัฐบาลนำเข้าวัคซีนคุณภาพสูง ประเภท mRNA เพื่อใช้ในการป้องกันโควิด โดยเฉพาะสายพันธุ์ใหม่ๆ ที่ทำให้วัคซีนที่ทางรัฐจัดให้ในปัจจุบัน อาจไม่สามารถป้องกันได้ จนมีแคมเปญที่ให้ทุกคนมาร่วมกันลงชื่อเพื่อเรียกร้อง mRNA วัคซีน ที่ถือเป็นวัคซีนที่มีประสิทธิภาพสูงท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิดสายพันธุ์เดลตาที่แพร่กระจายอย่างรวดเร็วในเวลานี้

ที่สำคัญ มีข่าวหมอที่ฉีดวัคซีนซิโนแวคครบ 2 เข็มและใส่หน้ากากป้องกัน ติดโควิด เป็นจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ ถึงแม้ว่าจะลดอาการไม่ให้ถึงขั้นรุนแรงจนเสียชีวิตได้ แต่ก็ประสิทธิภาพในการ "ป้องกันการติด" ยังคงเป็นรองจากวัคซีนประเภท mRNA ทำให้มีโอกาสแพร่เชื้อให้คนใกล้ชิด หรือ คนในครอบครัวได้

นอกจากนี้ ยังมีข่าวที่บางประเทศไม่ยอมรับผู้ฉีดซิโนแวคเข้าประเทศ แม้ว่าทางองค์การอนามัยโลกออกมารับรองซิโนแวคแล้วก็ตาม

ในบรรดาวัคซีนต่อต้านโควิด-19 นั้น กลุ่ม mRNA มีประสิทธิภาพที่เห็นผลในหลายประเทศ อย่าง สหรัฐอเมริกา ที่กลับมาใช้ชีวิตได้อย่างปกติได้ เห็นผลดีกว่าวัคซีนประเทศอื่น แม้จะมีการระบาดระลอกใหม่ ก็ลดจำนวนคนเสียชีวิตไปได้มาก

 

เปรียบเทียบประสิทธิภาพวัคซีน Covid-19

คณะแพทย์ศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ขอบคุณภาพจาก: คณะแพทย์ศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

 

การจองวัคซีนทางเลือก mRNA

ติดตามข่าวสารวัคซีนทางเลือกต่างๆ ได้จากเว็บไซต์โรงพยาบาลในไทย ถ้าไม่มีปัญหา คาดว่าจะได้รับการฉีดในช่วงต้นไตรมาส 4 แต่เนื่องจากการจองเป็นจำนวนมาก ถ้าเริ่มจองภายหลัง อาจได้ฉีดช่วงปี 2565

 

ขอบคุณข้อมูลจาก: โรงพยาบาลสินแพทย์, Sanook

 

บทความที่เกี่ยวข้อง

บทความการดูแลสุขภาพ