ยาคลายกล้ามเนื้อ มีกี่แบบ ใช้ต่างกันยังไง

ยาคลายกล้ามเนื้อ มีกี่แบบ ใช้ต่างกันยังไง

เคยเป็นไหมคะ นั่งท่าเดิมนาน ๆ หรือบางครั้งออกกำลังกายผิดท่าจนกล้ามเนื้อบาดเจ็บ แล้วอยู่ ๆ ก็มีอาการปวดไหล่ คอ หลังขึ้นมา หลายคนก็เลือกที่จะบรรเทาอาการด้วยการใช้ยาแก้ปวด ยาแก้อักเสบ หรือยาคลายกล้ามเนื้อ แต่ติดตรงที่ไม่รู้ว่าจะกินตัวไหนดี บางทีกินไปแต่อาการกลับไม่ดีขึ้น แล้วเราควรจะรับประทานยาตัวไหนจึงจะหายปวด วันนี้เภสัชกร รวบรวมยาคลายกล้ามเนื้อมาให้แล้วค่ะ 

 

ยาคลายกล้ามเนื้อแต่ละชนิด

ยาคลายกล้ามเนื้อ คือ ยาที่ช่วยลดความตึงตัวของกล้ามเนื้อลาย ทำให้กล้ามเนื้อที่หดคลายตัวลง ใช้บรรเทาอาการเจ็บปวดเฉียบพลัน โดยยาคลายกล้ามเนื้อแต่ละชนิดก็จะมีวิธีใช้ที่แตกต่างกัน เช่น

  1. Orphenadrine : ออกฤทธิ์ต่อการทำงานของสารสื่อประสาทบางชนิดในสมอง ทำให้กล้ามเนื้อคลายตัว จึงสามารถบรรเทาปวดจากการหดเกร็งของกล้ามเนื้อได้ ใช้รักษาอาการตึงของกล้ามเนื้อบริเวณรอบศีรษะ กล้ามเนื้อต้นคอ หรือกล้ามเนื้อบริเวณหลัง
  2. Tizanidine : ออกฤทธิ์ยับยั้งกระแสประสาทส่วนกลางที่ทำหน้าที่รับรู้ความรู้สึกเจ็บปวดที่ถูกส่งไปยังสมอง มีฤทธิ์ช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อ ใช้รักษาภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็ง รักษาอาการปวดจากกล้ามเนื้อกระตุกที่เกี่ยวข้องกับภาวะทางระบบกล้ามเนื้อและกระดูก
  3. Tolperisone : ออกฤทธิ์ที่ระบบประสาทส่วนกลาง ลดการรับรู้และยังลดการทำงานของก้านสมองต่อไขสันหลัง ทำให้กล้ามเนื้อคลายตัวลง จึงใช้บรรเทาอาการปวดจากการหดเกร็งของกล้ามเนื้อ
  4. Baclofen : ออกฤทธิ์ยับยั้งการตอบสนองในการส่งสัญญาณระหว่างเซลล์ประสาทของสมอง หรือไขสันหลังที่ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อ ส่งผลให้กล้ามเนื้อคลายอาการเกร็งตัวลง ใช้รักษาอาการกล้ามเนื้อเกร็งกระตุกจากโรคปลอกประสาทเสื่อม (Multiple Sclerosis) และโรคฮันนิงตัน (Huntington's Disease) และรวมถึงการบาดเจ็บบริเวณไขสันหลังและโรคเกี่ยวกับไขสันหลัง
  5. Eperisone : ออกฤทธิ์โยการยับยั้งการส่งสัญญาณประสาท ที่คอยส่งสัญญาณให้กล้ามเนื้อหดตัว ช่วยในเรื่องการหดตัวของกล้ามเนื้อ ทั้งบริเวณแขน ขา คอ หลัง รวมถึงลดอาการหดเกร็งจากอาการอัมพาตที่เกิดจากโรคหลอดเลือดสมอง และการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุที่ไขสันหลัง

 

ถึงแม้ว่าการรับประทานยาจะช่วยบรรเทาอาการปวดได้ แต่วิธีที่ดีที่สุดคือต้องปรับพฤติกรรมร่วมด้วย เช่น การปรับเปลี่ยนอิริยาบถให้ถูกต้อง ยืดกล้ามเนื้อให้ถูกวิธี และลหลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่ทำให้กล้ามเนื้อบาดเจ็บ จึงจะช่วยคลายปวดเมื่อยได้อย่างมีประสิทธิภาพจริง ๆ นอกจากนี้ การกินยาคลายกล้ามเนื้อควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ และเภสัชกร สุดท้ายนี้ เพื่อความปลอดภัยในการใช้ยา ไม่ควรซื้อยามากินเอง ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญก่อนใช้ยาทุกครั้งนะคะ

 

ผู้เขียน

ธมนวรรณ พรพาณิชเจริญ 

เภสัชกร

 

อ่านอะไรต่อดี ? 

ยาทาแก้ปวด สูตรร้อน กับ สูตรเย็น ต่างกันอย่างไร ?

ยาพาราเซตามอล ยิ่งทานเยอะยิ่งหายปวด จริงไหม ?

เจลพริก สมุนไพรแก้ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ

 

หากใครมีข้อสงสัยเกี่ยวกับเรื่อง ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ยา และปัญหาเรื่องสุขภาพ สามารถปรึกษาเภสัชกรที่ร้านขายยา Fascino ผ่านระบบเทเลฟาร์มมาซี เรายินดีให้คําปรึกษาทุกปัญหาสุขภาพทุกช่องทาง

บทความการดูแลสุขภาพ