ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ผสมไซบูทรามีน สังเกตได้อย่างไร

ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ผสมไซบูทรามีน สังเกตได้อย่างไร

ถึงไซบูทรามีน (Sibutramine) เป็นสารต้องห้ามที่ผิดกฎหมาย แต่ลดความสามารถในการทานอาหารลงได้ ทำให้ยังคงมีการแอบนำมาผสมในผลิตภัณฑ์เสริมอาหารบ่อยครั้ง บางรายแอบผสมหลังผ่านการตรวจสอบโดยองค์กรต่าง ๆ หรือ ถูกปลอมผลิตภัณฑ์ขายผ่านช่องทางออนไลน์ ทำให้ยากต่อการตรวจสอบ การสังเกตผลข้างเคียงเวลาทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจึงเป็นเรื่องสำคัญ

 

สังเกตผลข้างเคียงของไซบูทรามีน

สารไซบูทรามีนอาจทำให้เกิดผลเสียต่อร่างกายแบบสังเกตได้ดังนี้

  • ปากแห้ง ดื่มน้ำแล้วก็ไม่หายคอแห้ง
  • คลื่นไส้ ถึงขั้นอาเจียน
  • เวียนหัว มึนหัว มีอาการเหมือนเมา
  • ปวดหัว เนื่องจากความดันโลหิตขึ้นสูง
  • ใจสั่น หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ
  • ท้องผูก ระบบขับถ่ายผิดปกติ
  • ปวดตัว ปวดข้อต่อ
  • นอนไม่หลับ
  • ลิ้นไม่ค่อยรับรสชาติอาหาร

ไซบูทรามีน มีอันตรายกับผู้มีโรคประจำตัว อย่าง โรคหัวใจขาดเลือด โรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดสมองตีบ โรคตับ โรคไต โรคต้อ รวมทั้งอันตรายต่อหญิงตั้งครรภ์และให้นมบุตร

หลังทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารแล้วมีอาการเหล่านี้ อาจมีส่วนผสมของไซบูทรามีน ควรหยุดทานทันที สามารถแจ้งได้ที่สายด่วนของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ที่เบอร์ 1556

 

ไซบูทรามีนเคยถูกกฎหมาย

เดิมที ไซบูทรามีนเป็นยาใช้รักษาอาการซึมเศร้า ใช้สำหรับความอ้วนเพราะกดความต้องการทานอาหารลงได้ ทำให้ทานอาหารน้อยลง ส่งผลทำให้น้ำหนักลดลง

แต่หลังพบว่าผู้ทานหลายรายได้รับผลข้างเคียง มีอันตรายต่อสุขภาพ บางรายถึงขั้นเสียชีวิต ถูกยกระดับเป็นวัตถุออกฤทธิ์ประเภทที่ 1 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 23 กันยายน พ.ศ. 2561 ส่งผลให้ลงโทษผู้กระทำผิดที่นำไปผสมกับผลิตภัณฑ์อาหารเสริม

 

การลดความอ้วนมีหลายวิธีโดยไม่ต้องใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เพียงใช้ความพยายาม ความมีวินัย และความตั้งใจ จะทำให้น้ำหนักลดอย่างค่อยเป็นค่อยไป

วิธีลดอย่างเร่งด่วนมีความเสี่ยงเสมอ หากมีข้อสงสัยเรื่องการใช้ยาหรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมน้ำหนักสามารถปรึกษาเภสัชกรหรือแพทย์เฉพาะทางได้

หากใครมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการใช้ยาหรือคําถามเพิ่มเติมสามารถปรึกษาเภสัชกรที่ร้านขายยา Fascino ผ่านระบบเทเลฟาร์มมาซีได้เลย เรายินดีให้คําปรึกษาทุกปัญหาสุขภาพ ปรึกษาได้ผ่านช่องแชทที่มุมขวาล่าง หรือช่องทางต่างๆ

 

ขอบคุณข้อมูลจาก: สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กองควบคุมวัตถุเสพติด, ศูนย์วิชาการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย , ไทยรัฐ / ภาพประกอบจาก: unsplash

 

อ่านอะไรต่อดี ? 

5 ผลไม้น้ำตาลต่ำ คนเป็นเบาหวานทานได้ ช่วยลดน้ำหนัก

5 วิธีกำจัดห่วงยางรอบเอว (Love Handles) อย่างได้ผล

ยาลดความอ้วน ภัยร้าย อันตรายถึงชีวิต

บทความการดูแลสุขภาพ