หลังราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ประกาศเตรียมชี้แจงการนำเข้า "ซิโนฟาร์ม" วัคซีนทางเลือก ซึ่งเตรียมแถลงร่วมกับกระทรวงสาธารณสุขในวันที่ 28 พ.ค. 2564 เป็นวัคซีนที่มีความสนใจจากประชาชนไทยเป็นจำนวนมาก ทั้งจากคนที่ทราบว่ามีประสิทธิภาพสูงกว่าซิโนแวค, มีความน่าเชื่อถือกว่าเพราะมาจากหน่วยงานรัฐของจีน, องค์การอนามัยโลก (WHO) รับรองประสิทธิภาพ เปิดให้จองผ่านแอพ CRA SINOP ให้กับประชาชนทั่วไปในวันที่ 18 ก.ค. 2564
แต่ในขณะเดียวกัน ยังมีคนไม่รู้จักวัคซีนซิโนฟาร์ม ไม่เข้าใจว่าต่างจาก ซิโนแวค ที่ชื่อใกล้เคียงกันอย่างไร แล้วยังมี Sinopharm แบ่งเป็นแบบอู่ฮั่นและปักกิ่งอีก ต่างกันอย่างไร มาดูสรุปสั้นๆ กัน
ข้อมูลเกี่ยวกับซิโนฟาร์ม
- วัคซีนในไทยมีชื่อว่า "BBIBP-CorV" ผลิตโดย บริษัท ซิโนฟาร์ม (Sinopharm) ผลิตจากบริษัทที่ปักกิ่ง
- เป็นวัคซีนชนิดเชื้อตาย
- เหมาะสำหรับผู้ฉีดที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป
- ฉีดจำนวน 2 โดส ห่างกัน 3 - 4 สัปดาห์ (21-28 วัน)
- ในกลุ่มคนที่อายุมากกว่า 60 ปี ยังอยู่ระหว่างการจับตาเพราะยังมีการศึกษาในกลุ่มนี้จำนวนไม่มากนัก (ข้อมูล ณ เดือนพ.ค. 2564)
- ถือเป็นวัคซีนตัวที่ 5 ที่ อ.ย. อนุมัติ จาก 5 บริษัท คือ Astrazeneca, Sinovac, Johnson & Johnson, Moderna และ Sinopharm ตามลำดับ (ที่มา: FDA Thailand)
ความน่าเชื่อถือ
- 7 พ.ค. 2564 องค์การอนามัยโลก (WHO) รับรองใช้เป็นวัคซีนต้านโควิด เป็นวัคซีนลำดับที่ 6
- 26 พ.ค. 2564 ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ประกาศเตรียมชี้แจงการนำเข้าวัคซีนซิโนฟาร์ม
- ซิโนฟาร์ม ถูกกระจายไปใช้ในกว่า 50 ประเทศ ในละตินอเมริกา เอเชีย แอฟริกา และยุโรป อาทิ ฮังการี อียิปต์ อินโดนีเซีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และโมร็อกโก เป็นต้น
ประสิทธิภาพ
- ป้องกันการติดเชื้อ แบบมีอาการ 79%
- ป้องกันการการนอนโรงพยาบาล 79%
- ป้องกันความรุนแรงของโรคและการเสียชีวิต 100%
WHO ยังไม่มีการยืนยันว่าป้องกันไวรัสกลายพันธุ์ได้หรือไม่ และไม่มีรายงานว่าป้องกันการติดและแพร่เชื้อได้
ผลข้างเคียงจากการฉีด
- ปวดบริเวณที่ฉีด
- ปวดศีรษะ
- อ่อนเพลีย
WHO เคยรายงานอาการไม่พึงประสงค์ที่อาจเชื่อมโยงกับวัคซีนซิโนฟาร์ม คือ อาการคลื่นไส้ และความผิดปกติที่ระบบประสาทหรือโรคไข้สมองอักเสบเฉียบพลัน
เปรียบเทียบ 2 วัคซีน Sinovac vs Sinopharm
ในไทยอาจจะได้ยินบ่อยว่า "ซิโนฟาร์มเป็นของบริษัทรัฐวิสาหกิจ ซิโนแวคเป็นของบริษัทเอกชน"
ขอบคุณ Infographic จาก The Standard *ข้อมูล ณ วันที่ 28 พ.ค. 64 ซิโนแวค น่าจะได้รับการรับรองในเดือน มิ.ย. 64
Sinopharm อู่ฮั่น และ ปักกิ่ง
ซิโนฟาร์มที่ใช้ในไทย คือ BBIBP-CorV มาจากบริษัทที่ปักกิ่ง ซึ่งผ่านการรับรองจาก อ.ย. (WIBP-CorV จากจีน ยังไม่ได้ใช้ในไทย)
ขอบคุณ Infographic จาก The Standard
อธิบายเกี่ยวกับกลไกของวัคซีนซิโนฟาร์ม
อ้างอิงข้อมูลจาก: องค์การอนามัยโลก (WHO), Workpoint Today
ข้อมูล ณ วันที่ 28 พฤษภาคม 2564