สไตรีนโมโนเมอร์ สารก่อมะเร็งจากโรงงานกิ่งแก้วไฟไหม้

สไตรีนโมโนเมอร์ สารก่อมะเร็งจากโรงงานกิ่งแก้วไฟไหม้

จากกรณี โรงงานกิ่งแก้วไฟไหม้ เมื่อวันจันทร์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 ที่เกิดระเบิดเป็นวงกว้าง แล้วยังมีสารเคมีอันตราย "สไตรีนโมโนเมอร์" อีก 2 หมื่นลิตร ที่พร้อมจะสร้างความเสียหายในระยะ 5-10 กิโลเมตร ทำให้มีความตื่นตะหนกถึงสารเคมีที่รั่วไหล ซึ่งในระลอกแรกก็ทำให้เกิดอาการแสบจมูกแล้ว ถ้าเกิดระเบิดซ้ำจะมีวงกว้างที่อันตรายไปทั่วบริเวณ และอาจพัดสารพิษไปไกลหลายจังหวัด อีกทั้งฝนกำลังจะตกในบางพื้นที่ อาจสร้างผลเสียต่อสุขภาพ จึงต้องระวังสาร สไตรีนโมโนเมอร์ ที่อาจเข้าสู่ร่างกายได้ มีผลรุนแรงถึงมะเร็ง หรือ เสียชีวิตได้

 

สารสไตรีนโมโนเนอร์ คืออะไร

คุณสมบัติ

  • สารสไตรีนโมโนเมอร์ (Styrene monomer) เป็นของเหลวใสและข้นเหนียว
  • สูตรทางเคมี C8H8 , CAS #. 100-42-5 น้ำหนักโมเลกุล 104.16
  • ถ้าสารมีอุณหภูมิ 31°C (88°F) ขึ้นไป จะติดไฟ กลายเป็นสารอินทรีย์ระเหยง่าย
  • เมื่อถูกความร้อน จะแยกเป็นสาร สไตรรีน และ เบนซีน ซึ่งเบนซีน เป็นสารก่อมะเร็ง
  • อาจกลายเป็นก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์(CO) จำนวนมาก มีอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจ

 

ประโยชน์

  • ใช้ในชิ้นส่วนรถยนต์และของใช้ในบ้านและบรรจุภัณฑ์
  • ใช้ในการผลิตยางสังเคราะห์ และพลาสติก เรซิน สี ฉนวนที่เป็นโฟม
  • ใช้ผลิตพลาสติกกับสารอื่น เช่น Acrylonitrile- butadiene- styrene plastics
  • ใช้ทำกระเป๋าแบบแข็ง Acrylonitrile- styrene plastics

 

อันตรายต่อสุขภาพ

  • เป็นสารระเหย แม้อยู่ในน้ำหรือดิน การปนเปื้อนในดินอาจนำไปสู่น้ำใต้ดินเพราะสารนี้ไม่ค่อยจับตัวกับดิน
  • ถ้าหายใจเข้าไป จะเกิดการระคายเคืองต่อระบบทางเดินหายใจ และลำคอ ปวดศีรษะ มึนงง อ่อนเพลีย คลื่นไส้ และมึนเมา
  • ถ้าได้รับสารปริมาณสูง จะมีอาการชักและเสียชีวิตได้
  • การหายใจเข้าไปในระยะนานๆแม้ว่าความเข้มข้นต่ำจะทำให้อาจมีอาการทางสายตา การได้ยินเสื่อมลง และการตอบสนองช้าลง
  • ส่วนผลในระยะยาวนั้นยังไม่ทราบแน่ชัด ถ้าเข้าตา จะเคืองตา ถ้าถูกผิวหนัง จะรู้สึกระคายผิว ถ้าสารซึมเข้าผิวหนังจะมีอาการเหมือนหายใจเข้าไป ทำให้ผิวแดง แห้งและแตก
  • สารเบนซีน ทำให้ก่อเกิดมะเร็งได้

 

การดับเพลิง

  • ใช้น้ำยาประเภทคาร์บอนไดออกไซด์หรือเคมีแห้งหรือโฟมปิดคลุม
  • ห้ามฉีดน้ำเป็นไปยังถังที่ถูกเพลิงไหม้โดยตรง เพราะทำให้มีการกระจายตัวของเพลิงได้ อาจให้ฉีดเป็นละอองฝอยเพื่อควบคุมควันเท่านั้น

 

วิธีป้องกันสารสไตรีนโมโนเนอร์ เบื้องต้น

  • การป้องกันสารเคมีต้องใช้หน้ากากเคมีเท่านั้น แม้แต่ หน้ากาก N95 หรือ เครื่องฟอกอากาศ ก็ไม่สามารถป้องกันสารระเหยเคมีได้ การอพยพออกจากบริเวณจึงเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุด (ขอบคุณเฟซบุ๊ค: อาจารย์เจษฎ์)
  • ในเบื้องต้นให้ใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลาเพื่อลดสาร ถึงหน้ากากผ้าและหน้ากากทั่วไปจะกันได้ไม่เต็มที่ แต่ยังดีกว่าไม่ใส่
  • ให้อพยพจากพื้นที่อันตราย เพื่อลดความเสี่ยงที่จะสูดสารพิษชนิดนี้เข้าไป รวมถึงสารพิษที่มาพร้อมกับฝน
  • ถ้าเกิดอาการผิดปกติรุนแรง ควรปรึกษาแพทย์โดยเร็ว

 

รัศมีที่คาดว่า อาจได้รับผลกระทบ ถ้าเกิดระเบิดซ้ำ

 

การปฐมพยาบาลเบื้องต้น

กรณีอยู่ในพื้นที่เสี่ยง แล้วสัมผัสสารเคมี ไม่ว่าจะจากฝนตก หรือควันที่แพร่เป็นวงกว้างไปทั่วและอาจไปได้ไกลหลายวัน มีขั้นตอนการปฐมพยาบาลดังนี้

  1. ถ้าสารเคมีสัมผัสผิวหนัง ให้ล้างผิวหนังด้วยน้ำสะอาดให้มากที่สุด เพื่อลดความเข้มข้น
  2. ถ้าสารเคมีเข้าตา ให้ล้างตาอย่างต่อเนื่อง อย่างน้อย 15 นาที รีบส่งตัวไปพบแพทย์ อาจป้ายขี้ผึ้งชนิดป้ายตาเพื่อบรรเทาอาการระหว่างทาง
  3. ถ้าหมดสติจากการสูดดม พาผู้ป่วยไปยังที่อากาศถ่ายเท ประเมินการหายใจและการเต้นของหัวใจ ถ้าฉุกเฉินต้องทำการ CPR เพื่อช่วยชีวิต ก่อนส่งตัวไปรักษาในสถานพยาบาล

 

จากกรณีเหตุระเบิดภายในโรงงาน หมิงตี้ เคมีคอล จำกัด เป็นโรงงานผลิตโฟมและเม็ดพลาสติก อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ ถือเป็นกรณีที่เกิดขึ้นได้ไม่บ่อยก็จริง แต่ประชาชนควรทำความเข้าใจวิธีปฐมพยาบาลอย่างถูกวิธี วิธีรับมือสถานการณ์ฉุกเฉินที่อาจเกิดใกล้บ้านท่านได้ทุกเมื่อ และเตรียมอพยพในกรณีเกิดโรงงานสารเคมีระเบิด เพื่อความปลอดภัยของตัวคุณและครอบครัว

 

Styrene Monomer คืออะไร อันตรายมากแค่ไหน ปฐมพยาบาลอย่างไร

 

ขอบคุณข้อมูลจาก: FB Sonthi Kotchawat, กรุงเทพธุรกิจ
ภาพปกจาก: Pixabay

 

บทความการดูแลสุขภาพ