โรคซิฟิลิส (Syphilis) ปล่อยไว้ไม่รักษา อาจทำสมองพัง !

โรคซิฟิลิส (Syphilis) ปล่อยไว้ไม่รักษา อาจทำสมองพัง !

หลายคนอาจยังไม่ทราบว่า “โรคซิฟิลิส (Syphilis)” นั้นอันตรายกว่าที่หลายคนคิดนะคะ โดยโรคนี้เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย Treponema Polidum ที่อาจทำให้ผู้ป่วยมีอาการรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้เลยนะ โรคซิฟิลิสนั้นสามารถติดเชื้อได้จากการสัมผัสโดยตรงกับแผลของผู้ป่วย เช่น การมีเพศสัมพันธ์ รวมถึงการติดจากแม่สู่ลูกได้ด้วย แต่โรคซิฟิลิสไม่สามารถติดต่อผ่านการใช้ของใช้ส่วนตัวร่วมกัน เช่น การสวมใส่เสื้อผ้าตัวเดียวกัน การรับประทานอาหารร่วมกัน หรือการสัมผัสสิ่งต่าง ๆ ร่วมกัน แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าเราเป็นโรคซิฟิลิส ? วันนี้เภสัชกรได้รวบรวมอาการทั้ง 4 ระยะมาให้แล้วค่ะ

 

อาการของโรคซิฟิลิส

การติดเชื้อซิฟิลิสในแต่ละระยะจะมีอาการแตกต่างกันไป โดยมีรายละเอียด ดังนี้

 

  • ระยะที่ 1 ผู้ติดเชื้อจะมีตุ่มเล็ก ๆ ขึ้นบริเวณอวัยวะเพศ ริมฝีปาก ลิ้น จากนั้นตุ่มจะขยายตัวจนแตกกลายเป็นแผล โดยแผลชนิดนี้เรียกว่าแผลริมแข็ง โดยผู้ติดเชื้อจะไม่มีอาการเจ็บปวดแต่อย่างใด
  • ระยะที่ 2 ผู้ติดเชื้อจะมีผื่นขึ้นบริเวณร่างกาย รวมถึงที่ฝ่ามือและฝ่าเท้า ร่วมกับมีไข้ ปวดศีรษะ และเจ็บคอ
  • ระยะแฝง จะเกิดเมื่อผู้ป่วยไม่ได้รับการรักษาโรคซิฟิลิสในระยะที่สอง อาการของโรคก็จะดำเนินต่อเป็นระยะแฝง โดยผู้ป่วยมักไม่มีอาการแสดงใด ๆ ระยะแฝงอาจนี้อาจกินเวลายาวนานเป็นปี 
  • ระยะที่ 3 ในระยะนี้ เชื้ออาจเข้าไปทำลายสมอง ระบบประสาท หัวใจ และอวัยวะต่าง ๆ ได้ โดยอาการในระยะนี้อาจเกิดขึ้นนานหลายปีหากไม่ได้รับการรักษา

   

แม้ว่าอาการของโรคซิฟิลิสจะมีหลายรูปแบบก็จริง แต่ก็มีผู้ติดเชื้อบางส่วนที่ติดเชื้อแล้วแต่ไม่แสดงอาการใด ๆ และไม่รู้ตัวว่าเป็นพาหะของโรค จนถึงระยะสุดท้ายค่อยมีอาการ ซึ่งกว่าจะรู้ตัวเชื้อก็อาจจะแพร่ไปทั่วร่างกายและทำลายอวัยวะต่าง ๆ ไปแล้ว ดังนั้นผู้ที่มีความเสี่ยงสูง เช่น ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ป้องกัน ก็ควรที่จะเข้ารับการตรวจสุขภาพทางเพศเป็นประจำ หากตรวจเจอก็จะได้รับการรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ อีกทั้งยังเป็นการป้องกันอาการแทรกซ้อนในระยะยาวได้อีกด้วย



ผู้เขียน

ธมนวรรณ พรพาณิชเจริญ 

เภสัชกร

 

อ่านอะไรต่อดี ? 

ลดกลิ่นน้องสาว ด้วยการงดกินอาหารเหล่านี้

อาการคันจุดซ่อนเร้น จัดการง่าย ๆ ใน 5 ขั้นตอน

ทำไมอ้วนแล้ว มีโอกาสเสื่อมสมรรถภาพทางเพศสูง

 

หากใครมีข้อสงสัยเกี่ยวกับเรื่อง ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ยา และปัญหาเรื่องสุขภาพ สามารถปรึกษาเภสัชกรออนไลน์ได้ที่ ปวด ป่วย อาย จาม "ถามMacy" เรายินดีให้คําปรึกษาทุกปัญหาสุขภาพ

บทความการดูแลสุขภาพ