
โซเดียมเป็นสารอาหารที่จําเป็นต่อร่างกายก็จริง แล้วมันก็จะแฝงตัวอยู่ในอาหารหลายชนิดเลย โดยเฉพาะอาหารรสเค็ม แล้วก็จะพบมากในอาหารกึ่งสําเร็จรูป อาหารแช่แข็ง รวมไปถึงอาหารหมักดองด้วย แต่ทานเค็มมากเกินไปจะมีผลต่อสุขภาพอย่างมาก เป็นที่มาของโรคภัยหลายชนิด อีกทั้งคนไทยส่วนใหญ่ติดเค็มแบบไม่รู้ตัว
ทำไมถึงอันตราย
เมื่อทานเค็ม ปริมาณโซเดียมจะถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย ร่างกายของเราก็จะเหนี่ยวนําน้ำเข้ามาในร่างกายมากขึ้น เพื่อลดความเข้มข้นของโซเดียมในกระแสเลือด จึงเป็นที่มาว่าทําไมเวลาเราทานเค็มแล้วเราจึงกระหายน้ํามากขึ้นนั่นเอง
เมื่อของเหลวในร่างกายเพิ่มมากขึ้นนะคะ หัวใจก็จะทํางานหนักขึ้น ความดันโลหิตสูงขึ้นแล้วก็ไตทํางานหนักมากขึ้นด้วย ทำให้เกิดปัญหาสุขภาพหลายอย่างตามมา อย่าง โรคไต ไตวาย ถึงขั้นเสียชีวิตได้
ความเค็ม อันตรายขนาดไหน ?
อาหารเค็มจัดถือว่าเป็นอันตรายต่อสุขภาพมาก ถึงไม่เห็นผลในวันนี้ แต่กินสะสมหลายปีจะเห็นผลมากขึ้น ควรหลีกเลี่ยง มีการรงรงค์ให้ลดทานเค็มอย่างต่อเนื่อง มีการเล็งที่จะเก็บภาษีความเค็มในปลายปี 2564 อาจเป็นโอกาสที่ดีที่จะลดทานเค็มกัน เพื่อสุขภาพ
นายสุรศักดิ์ กันตชูเวสศิริ นายกสมาคมโรคไตแห่งประเทศไทยและประธานเครือข่ายลดบริโภคเค็ม กล่าวว่า ผลจากการบริโภคเค็มทำให้คนไทยเสี่ยงต่อการเป็นโรค ดังนี้
- ความดันโลหิตสูง 13 ล้านคน
- โรคไตเรื้อรัง 8 ล้านคน ค่าใช้จ่ายฟอกไตปีละ 20,000 ล้านบาท
- หัวใจ 500,000 คน
- สโตรก 500,000 คน
- เบาหวาน 4 ล้านคน.
อาหารที่มีความเค็มสูง
- บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป
- อาหารแช่แข็ง/เย็น
- ขนมขบเคี้ยว
- ซอสปรุงรส
กินเกลือได้วันละกี่ช้อน
องค์การอนามัยโลกขอความร่วมมือจากประเทศต่างๆ ให้ร่วมรณรงค์ให้ประชากรบริโภคเกลือไม่เกิน 1 ช้อนชา หรือ 5 กรัมต่อคนต่อวัน หรือโซเดียมไม่เกิน 2,000 มิลลิกรัม ซึ่งเป็นปริมาณที่จะไม่ก่อให้เกิดผลเสียต่อร่างกาย เพื่อลดอัตราของการเกิดโรคเรื้อรังต่างๆ
ระวังเกลือแฝง
ถึง 1 ช้อนชา ดูจะเป็นปริมาณไม่มาก บางคนคิดว่าไม่ได้ทานเค็มคงไม่เป็นไรแต่อาหารจานด่วนส่วนใหญ่ในไทย มีการใส่เกลือและปลาผสมอยู่เสมอ ทำให้มีปริมาณโซเดียมที่สูงเกิน 1 ช้อน พอทานอาหาร 3 มื้อ ทำให้คนไทยส่วนใหญ่ได้รับโซเดียมในปริมาณที่มากเกินไป
อาหารรสจัดส่วนใหญ่จะใส่เกลือปริมาณมาก อย่าง ส้มตำ ต้มยำ หรือ ลาบน้ำตก ซึ่งโดนรสเผ็ดกลบ ทำให้คนทานไม่ทราบว่ากำลังได้รับโซเดียมในปริมาณสูงกว่าปกติ
วิธีเลิกติดเค็ม
สำหรับคนที่ติดเค็ม ควรลดปริมาณเกลือ น้ำปลา ผงชูรส ในอาหารลงวันละนิด เลี่ยงการทานร้านอาหารที่ปรุงรสเค็มจัด หรือขอให้แม่ค้าลดปริมาณเครื่องปรุงลง
ส่วนอาหารที่โซเดียมแฝงสูง อย่าง อาหารกึ่งสำเร็จรูป เวลาทานก็อย่าเทเครื่องปรุงในซองจนหมด ลดปริมาณลง รวมทั้งควรลดการทานอาหารกึ่งสำเร็จรูปลง
ขอบคุณข้อมูลจาก: Springnews