การดูแลรักษาบาดแผล

Tags:
การดูแลรักษาบาดแผล

ชนิดของบาดแผล แบ่งตามเชื้อโรคที่มีในบาดแผลได้เป็น 2 ชนิด คือ

  • แผลสะอาด หมายถึง แผลที่ไม่ติดเชื้อโรค เนื้อเยื่อของแผลจะมีสีชมพู อมแดง ไม่มีลักษณะของการอักเสบบวมแดง การดูแลให้ชุ่มชื้นได้จะทำให้แผลหายเร็วขึ้น
    *การรักษาสภาพแผลให้ชุ่มชื้นเหมาะสมจะช่วยทำให้การสมานแผลเกิดได้เร็วการหายของแผลก็จะเร็วกว่า สภาวะที่ชุ่มชื้นแผลมีอุณหภูมิใกล้เคียงร่างกายทำให้เซลล์ผิวหนังแบ่งตัวได้เต็มที่การสมานแผลเกิดได้ง่ายเพราะไม่มีสะเก็ดแผลขัดขวาง สภาวะที่ชุ่มชื้นเกิดจากน้ำเหลืองเคลือบอยู่ในปริมาณที่พอเหมาะ ซึ่งในน้ำเหลืองมีสารอาหารและอากาศช่วยให้การงอกขยายของเซลล์เกิดได้ดีกว่า *
  • แผลติดเชื้อ หมายถึง แผลที่ติดเชื้อโรค แผลจะมีการอักเสบ (แดง ร้อน บวม ปวด) หลังจากนั้นจะเกิดหนองขึ้น การดูแลแผล ห้ามนำองค์ความรู้เรื่องการหายของแผลแบบชุ่มชื้นมาใช้เป็นเด็ดขาด

เทปปิดแผล

การรักษาแผล
การรักษาแผลสะอาด

  • ใช้แอลกอฮอลล์ 70% ทำความสะอาดผิวหนังรอบๆ บริเวณบาดแผล
  • แต่ถ้ามีก้อนเลือดค้างอยู่หน้าแผลให้ใช้สำลีชุบน้ำต้มสุกหรือชุบน้ำเกลือเช็ดออก
  • ปิดแผลด้วยด้วยวัสดุที่เหมาะสม ถ้ารักษาแผลแบบชุ่มชื้นให้เปลี่ยนวัสดุปิดแผลเมื่อน้ำเหลืองเต็มแต่ไม่ควรเกิน 5 วัน

การรักษาแผลติดเชื้อ

  • ใช้แอลกอฮอลล์ 70% ทำความสะอาดผิวหนังรอบๆ บริเวณบาดแผล
  • ถ้าแผลเป็นหนอง ต้องเปิดแผลเพื่อเอาหนองออกให้หมดก่อน
  • ใช้สำลีชุบน้ำเกลือเช็ดทำความสะอาดภายในแผลให้สะอาดมากที่สุด
  • ใส่ยาฆ่าเชื้อ ยาล้างแผล
  • ปิดแผลด้วยด้วยวัสดุที่เหมาะสม เช่น ถ้าใช้ผ้าก็อซ และต้องติดตามดูลักษณะของแผล และควรเปลี่ยนวัสดุปิดแผลทุกวันหรือบ่อยกว่านั้น

น้ำยาใส่แผล

  • ที่นิยมใช้คือ โพวิโดน-ไอโอดีน (Povidone-Iodine 10% w/v) เพราะไม่ระคายเคืองต่อผิวหนัง ไม่แสบหรือแสบน้อยและ ทำให้แผลแห้งเร็ว

วัสดุปิดแผล
วัสดุปิดแผลที่พัฒนาเพื่อลดการติดแผล

  • ปัจจุบันมีหลายชนิดบางชนิดสามารถดูดซับของเหลวได้ดี ประโยชน์ที่ดี คือ ช่วยลดปัญหาที่เกิดจากก๊อซติดแผล ทำให้ผู้ป่วยไม่เจ็บแผลและไม่รบกวนการหายของแผลทำให้เกิดการสมานแผลได้เร็วขึ้น ยกตัวอย่าง เช่น sofra tulle และ melolin

วัสดุปิดแผลที่ควบคุมความชื้นให้เหมาะสม มีหลายประเภท เช่น

  • พลาสเตอร์ฟิล์มใสใช้ปิดกับแผลโดยตรง มีลักษณะใส ยืดหยุ่น ทำให้แผลมีความชุ่มชื้นกันน้ำได้ บางชนิดจะมีแผ่นดู ซับของเหลวได้ด้วย แนะนำใช้ปิดป้องกันน้ำและเชื้อโรค เหมาะสำหรับบาดแผลที่เกิดจากของมีคม แผลถลอก หรือแผลเย็บ เช่น ยี่ห้อ OPSITE POS-OP
  • พลาสเตอร์ไฮโดรคอลลอยด์ จะเป็นแผ่นปิดแผลที่ช่วยดูดน้ำเหลืองเข้าไปในแผ่นและจะกลายเป็นเจล แต่ห้ามใช้ใน แผลที่ติดเชื้อ เช่น Duoderm
  • วัสดุปิดแผลอัลจิเนต เป็นแผ่นปิดแผลที่ทำจากสาหร่าย สามารถดูดซับน้ำเหลืองได้ดีกว่าแผ่นไฮโดรคอลลอยด์ สามารถห้ามเลือดได้ ใช้ปิดโพรงแผลและแผลที่มีน้ำเหลืองปานกลางถึงมาก เช่น Sorbsan
  • ไฮโดรเจล เป็นเจลใส่แผลช่วยกำจัดเนื้อตายความชุ่มชื้นของเจลจะช่วยทำให้แผลหายเร็ว สามารถใช้ได้ทั้งแผลตื้น แผลลึก แผลที่เป็นโพรง แผลกดทับ แผลเบาหวาน เป็นต้น ตัวอย่าง เช่น Intrasite gel

เอกสารอ้างอิง
การเลือกใช้วัสดุปิดแผล(ออนไลน์). สืบค้นจาก :http://www.med.cmu.ac.th [05 มีนาคม 2554]
เภสัชกร สมบัติ แก้วจินดา.(2553). สาระน่ารู้เรื่องแผล. พิมพ์ครั้งที่ 1. สมุทรปราการ : หจก.บี.เอ็น.เอส.แอดวานซ์

ทำแผลด้วยอะไรดี โดย บ้านหมอ นายแพทย์ธีรวัฒน์ สุวรรณี

ขอรับคำปรึกษาจากเภสัชกร หรือหาซื้อผลิตภัณฑ์ได้ที่ร้านสาขาที่ ฟาสซิโนใกล้บ้าน (คลิ๊ก)

สอบถามทีมงานผ่านช่องทางต่างๆ ได้ที่ Facebook / Line

บทความสุขภาพ

บทความการดูแลสุขภาพ