ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารบำรุงกระดูก

filter_list ฟิลเตอร์
จัดเรียงโดย:

17 รายการ

ปริมาณแคลเซียมที่เพียงพอในแต่ละวัน

โดยมาตรฐานของกรมอนามัย แนะนำให้ทานแคลเซียมในแต่ละวัน 800 มิลลิกรัม สำหรับผู้สูงอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป ควรได้รับแคลเซียม 1,000 มิลลิกรัมต่อวัน

เมื่อวิเคราะห์ตามสภาพการเจริญเติบโต ควรรับประทานมากขึ้นตามเพศและวัยที่แตกต่างกัน 

  • อายุ 1-3 ปี แนะนำ 500 mg
  • อายุ 4-8 ปี แนะนำ 800 mg
  • อายุ 9-18 ปี แนะนำ 1300 mg
  • อายุ 19-50 ปี แนะนำ 1000 mg
  • อายุ 51 ปี แนะนำ 1200 mg

เด็กและหญิงตั้งครรภ์ควรได้รับในสัดส่วนที่มากขึ้น เลือกทานอาหารที่มีแคลเซียมสูง โดยเด็กในวัยเจริญเติบโต ควรทานแคลเซียมให้เพียงพออยู่เสมอ ซึ่งมีส่วนช่วยให้เด็กตัวสูงขึ้นได้ ส่วนหญิงตั้งครรภ์ การได้รับแคลเซียมอย่างเพียงพอ จะลดโอกาสกระดูกพรุนได้

โบรอน ช่วยเพิ่มการดูดซึมแคลเซียม

แคลเซียมเม็ดส่วนใหญ่ จะมีสาร "โบรอน" เพิ่มเข้ามา ซึ่งช่วยป้องกันการสูญเสียแคลเซียมไปได้มาก ช่วย วิตามินดี แมกนีเซียม และเพิ่มการดูดซึมแคลเซียม

โบรอน มีในอาหารตามธรรมชาติส่วนใหญ่ อย่าง ผลไม้ ผัก ถั่ว เนื้อสัตว์ ร่างกายต้องการโบรอนเพียงเล็กน้อย แต่การได้รับในปริมาณที่มากขึ้นให้สอดคล้องกับปริมาณของแคลเซียมที่ได้รับ จะทำให้กระดูกยืดหยุ่นและคงสภาพความแข็งแรงไว้ได้มาก

สิ่งที่ลดการดูดซึมแคลเซียม

สารบางอย่างจะขวางการดูดซึมเล็กน้อย หรือ กระตุ้นการขับแคลเซียมออกจากร่างกาย ควรลดการบริโภคเครื่องดื่มหรืออาหารกลุ่มนี้ลง หรือทานแคลเซียมให้มากขึ้น

  • กาแฟ
  • น้ำอัดลม
  • แอลกอฮอล์
  • อาหารรสเค็ม
  • อาหารมีฟอสฟอรัส
  • ธัญพืชที่มีสารไฟเตต

ทั้งนี้ ถึงจะลดการดูดซึม แต่ก็ขึ้นกับปริมาณที่ดื่ม เช่น คาเฟอีนในกาแฟหนึ่งแก้ว จะลดผลแคลเซียมประมาณ 2-4 mg แต่นมหนึ่งแก้วให้แคลเซียมได้มากถึง 240-300 mg

ผัก-ผลไม้ที่มีแคลเซียมสูง

ผักพื้นบ้านที่หาได้ในไทยหลายชนิดมีปริมาณแคลเซียมในสัดส่วนที่สูง อย่างไรก็ตามการทานอาหาร 3 มื้ออาจไม่สามารถทานผักใบเขียวได้มากถึงเป็น 100 กรัม จึงควรเลือกทานอย่างอื่นเสริม

ชื่อ แคลเซียม (มก. ต่อผัก 100 กรัม)
ชะพลู 601 มก.
สะเดา 354 มก.
ยอ 469 มก.
ผักโขม 350 มก.
มะเขือพวง 160 มก.
ผักแพว 573 มก.
แค 395 มก.
ตำลึง 126 มก.
ขี้เหล็ก 156 มก.
กระถิน 137 มก.
โสน 51 มก.
ถั่วพู 440 มก.
กระเฉด 387 มก.
คะน้า 245 มก.
ใบเหลียง 150 มก.
ใบขี้เหล็ก 150 มก.
งาดำ 1,469 มก.

 

ผลไม้ที่มีแคลเซียมสูง มีหลายอย่าง เช่น มะเดื่อ, แอปริคอต, ลูกแพร์, กีวี, ส้ม แต่ควรระวังเรื่องปริมาณน้ำตาลในผลไม้ด้วย

แคลเซียมจำเป็นต่อร่างกาย

ปัญหากระดูกบาง กระดูกพรุน เป็นปัญหาที่ผู้สูงอายุส่วนใหญ่พบเจอเสมอ เราสามารถเสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรงได้ด้วยอาหารบำรุงกระดูก ควรได้รับแคลเซียมอย่างเพียงพอคู่กับวิตามินดี การทานโปรตีนในปริมาณที่เหมาะสม จะช่วยให้ดูดซึมแคลเซียมได้มากขึ้นอีกทาง

เด็ก ผู้สูงอายุ คนวัยทำงาน แนะนำให้ได้รับแคลเซียมจากอาหารเป็นหลัก หากขาดแคลเซียม หรือมีความเสี่ยงที่จะขาดแคลเซียมในแต่ละวันจึงพิจารณาให้กินแคลเซียมเม็ด

กินแคลเซียมแบบเม็ดเสริมอาจพิจารณาในบางกรณี เช่น หญิงตั้งครรภ์ ป้องกันภาวะกระดูกพรุน ผู้ที่ตัดต่อมพาราไทรอยด์ และคนที่เป็นโรคไต

สำหรับคนทั่วไป ผู้ที่ไม่มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคกระดูกพรุน ผู้หญิงที่ไม่ได้อยู่ในช่วงตั้งครรภ์ ไม่มีความจำเป็นต้องกินแคลเซียมเสริม ไม่ต้องทานอาหารบำรุงกระดูกมากเกินไป

หากกังวลว่าจะมีปัญหากับโรคกระดูก สามารถรับประทานจากอาหารที่มีแคลเซียมอย่างเพียงพอ แต่ถ้าไม่สามารถทานได้อย่างเพียงพอด้วยปัจจัยหลายอย่าง ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรเพื่อทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารแคลเซียม

Fascino Online ขายสินค้าทางการแพทย์ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารบำรุงกระดูก เวชภัณฑ์ แคลเซียมเสริมเพื่อผู้ป่วย คนไข้ คนในครอบครัว เพื่อให้คุณเลือกสินค้าได้ครบจบในที่เดียว มีสินค้านับพันชิ้น ให้เลือกซื้ออย่างจุใจ เราต้องการให้คุณสนุกกับการเลือกซื้อสินค้าใหม่ที่อัพเดททุกวัน เอาใจคนรักสุขภาพ พร้อมโปรโมชั่นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารบำรุงกระดูกเด็ดตามเทศกาลสำคัญตลอดปี แคมเปญดีๆ สั่งซื้อสินค้าเสริมอาหารแคลเซียมได้ทุกที่ ทุกเวลา หากคุณได้รับความเสียหายจากการจัดส่ง คุณสามารถส่งกลับผ่านขั้นตอนการคืนสินค้าที่ไม่ยุ่งยาก ดำเนินการรวดเร็ว