น้ำมันปลา
11 รายการ
น้ำมันปลา (Fish Oil)
น้ำมันปลา (ฟิชออยล์) เป็นไขมันที่สกัดมาจากส่วนของปลา อย่าง เนื้อ หนัง หัว หาง ส่วนใหญ่ได้มาจากปลาทะเลน้ำลึกและเป็นปลาในเขตหนาว ซึ่งมีปริมาณสารมากกว่าปลาทั่วไป ปลาเหล่านี้ ได้กินสาหร่ายเซลล์เดียวและปลาขนาดเล็กจึงสะสมกรดไขมันที่ดีไว้ในร่างกาย มี กรดไขมันโอเมก้า-3, EPA และ DHA ในปริมาณที่สูง ส่งผลดีต่อร่างกายหลายอย่าง
ปลาที่มีไขมันสูงมีหลายชนิด ส่วนใหญ่จะเป็นปลานักล่าขนาดกลาง-ใหญ่ เช่น ปลาฉลาม ปลาทูน่าครีบยาว แต่มีอาจมีการสะสมสารพิษที่พบได้ในน้ำทะเล โดยเฉพาะสารปรอทปนเปื้อนจากเหมืองต่างๆ ทำให้ไม่เหมาะแก่การนำมาสกัดทำผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร นิยมเลือกปลาขนาดเล็กที่มีความมัน จากแหล่งน้ำธรรมชาติที่ไม่มีสารปนเปื้อนในน้ำ มีการตรวจสอบคุณภาพน้ำอย่างสม่ำเสมอ
น้ำมันตับปลา (Cod Liver Oil)
น้ำมันตับปลาแตกต่างจากน้ำมันปลา ส่วนใหญ่มาจากตับปลาทะเล เช่น ปลาค็อด อุดมไปด้วยวิตามินเอ และ วิตามินดี ดีต่อสุขภาพ เหมาะกับผู้ขาดสารอาหารทั้งสอง
ข้อควรระวัง คือ ตับปลา มีคอเลสเตอรอลสูง จึงควรทานอย่างปริมาณจำกัด และวิตามินทั้งสองสามารถหาอาหารอื่นทดแทนได้ ต่างจากน้ำมันปลา จึงเลือกทานอาหารที่อุดมไปด้วยวิตามิน และมีคอเลสเตอรอลต่ำได้
ประโยชน์ของน้ำมันปลา
ร่างกายมนุษย์ไม่สามารถผลิตโอเมก้า-3 ได้ จึงต้องหาอาหารมาเสริม แต่อาหารส่วนใหญ่มีสารเหล่านี้ต่ำ และแตกต่างจากที่ได้จากปลา ซึ่ง กรดไขมันโอเมก้า-3, EPA และ DHA มีประโยชน์ดังนี้
1. ป้องกันโรคหัวใจ
ช่วยลดความหนืดของกระแสเลือด ยับยั้งการเกาะตัวของเกล็ดเลือด ช่วยให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงหัวใจได้สะดวกมากขึ้น
2. ลดไขมันในเลือด
ลดการสร้างไขมันไตรกลีเซอร์ไรด์ในตับและส่งผลให้ลดโคเลสเตอรอลในหลอดเลือดลดลง จึงช่วยลดความเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือด
3. ลดความดันโลหิตสูง
ลดความหนืดของเลือดและลดการตอบสนองของหลอดเลือดต่อสารที่เพิ่มแรงดันเลือดในร่างกาย จึงช่วยลดความดันโลหิต
4. ลดอาการปวดอักเสบตามข้อ
มีสารตั้งต้นในการสร้างพรอสตาแกลนดินอี 3 ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ช่วยลดอาการอักเสบต่าง ๆ โดยเฉพาะโรคปวดข้อรูมาตอยด์
5. บำรุงสายตาและบำรุง
เป็นส่วนประกอบสำคัญในเซลล์สมองและเนื้อเยื่อชั้นในสุดของดวงตา (เรตินา) แล้วยังช่วยบำรุงสมอง
นอกจากนี้ยังมีประโยชน์อีกหลายอย่าง แต่ยังไม่มีงานวิจัยรับรองผล เช่น ช่วยรักษากล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือด, โรคหลอดเลือดสมอง, โรคซึมเศร้า, อัลไซเมอร์, มะเร็ง และโรคอื่นๆ จึงไม่ควรคาดหวังผลลัพธ์ในการรักษาโรค
ปริมาณโอเมก้า-3 ที่ควรได้รับในแต่ละวัน
- เด็กอายุ 2-3 ปี 40 มก./วัน
- เด็กอายุ 4-8 ปี 55 มก./วัน
- วันรุ่น 70-125 มก./วัน
- ผู้ใหญ่ 250-500 มก./วัน
- การใช้เพื่อสุขภาพ อาจต้องการถึง 200-3000 มก./วัน
เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดี ควรทานอาหารที่มี โอเมก้า-6s ร่วมด้วย ในสัดส่วน 2 ต่อ 1 (Omega-6s : Omega-3s)
ข้อควรระวัง : ไม่ควรทาน Omega-3 เกินวันละ 3,000 มก.
คำถามที่พบบ่อย
โอเมก้า-3 มีในอาหารอื่นหรือไม่ ?
- โอเมก้า-3: ที่มาจากพืช รู้จักในชื่อ เอแอลเอ (ALA) แต่แตกต่างจาก อีพีเอ และ ดีเอชเอ เล็กน้อย
- โอเมก้า-3s: พบได้ในไขมันและน้ำมันจากพืช เช่น น้ำมันคาโนลาและถั่วเหลือง เมล็ดลินสีด เมล็ดเจีย และวอลนัท แต่แตกต่างจากน้ำมันปลาเล็กน้อย ร่างกายของเราสามารถแปลง เอแอลเอ หรือโอเมก้า-3 ที่มาจากพืชบางส่วนให้เป็นรูปแบบที่เป็นประโยชน์มากขึ้นเช่นเดียวกับที่พบในน้ำมันจากแหล่งทางทะเลได้บ้าง แต่มีอัตราการแปลงต่ำ
แคปซูลน้ำมันปลา เป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่หาทานง่ายในปัจจุบัน มีข้อดีหลายอย่าง และควรรับประทานในปริมาณที่เหมาะสม อาจเลือกทานจากปลากระป๋องที่หาซื้อง่ายตามร้านสะดวกซื้อ ซึ่งอาจมีสารอาหาร กรดไขมันโอเมก้า-3, EPA และ DHA มากกว่าปลาสดทั่วไป
น้ำมันปลาทานตอนไหน เวลาใดดีสุด ?
นิยมทานหลังอาหารหรือพร้อมมืออาหาร จะทำให้ร่างกายดูดซึมได้ดีกว่าช่วงท้องว่าง ทานพร้อมอาหารมื้อไหนก็ได้
น้ำมันปลา (Fish Oil) และ น้ำมันตับปลา (Cod Liver Oil) ต่างกันอย่างไร